วันจันทร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2554

การทำบุญตักบาตร

อานิสงค์การทําบุญทุกชนิด

อานิสงค์การทําบุญทุกชนิด บุญกิริยาวัตถุ บุญกิริยาวัตถุ แปลว่าหลักแห่งการบำเพ็ญบุญ หรือหลักแห่งการทำบุญ บุญกิริยาวัตถุ โดยย่อมี 3 อย่าง คือ 1.ทานมัย บุญเกิดจากการให้ทาน 2.ศีลมัย บุญเกิดจากการรักษาศีล 3.ภาวนามัย บุญเกิดจากการเจริญภาวนา หมายความว่า วิธี หรือหลักแห่งการทำบุญในพระพุทธศาสนา เมื่อพูดโดยย่อแล้วก็มีเพียง 3 อย่าง คือ ทาน ศีล ภาวนา แต่ถ้าขยายความให้กว้างออกไป บุญกิริยาวัตถุมี 10 ประการ คือ 1.ทานมัย บุญเกิดจากการให้ทาน 2.ศีลมัย บุญเกิดจากการรักษาศีล 3.ภาวนามัย บุญเกิดจากการเจริญภาวนา 4.อปจายนมัย บุญเกิดจากการอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่ 5.ไวยยาวัจจมัย บุญเกิดจากการขวนขวายในกิจที่ชอบ 6.ปัตติทานมัย บุญเกิดจากการให้ส่วนบุญ 7.ปัตตานุโมทนามัย บุญเกิดจากการอนุโมทนาส่วนบุญ 8.ธัมมัสสวนมัย บุญเกิดจากการฟังธรรม 9.ธัมมเทสนามัย บุญเกิดจากการแสดงธรรม 10.ทิฏฐุชุกัมม์ การทำความเห็นให้ตรง การปรับปรุงความคิดเห็นให้ถูก http://board.palungjit.com/showthread.php?t=74143
TOP

มาสร้างบุญกันเถอะ 1. นั่งสมาธิ อย่างน้อยวันละ 15 นาที(หรือ เดินจงกรม ก็ได้) อานิสงส์ - เพื่อสติปัญญาที่เฉลียวฉลาดขึ้นทั้งภพนี้และภพหน้า เพื่อจิตใจที่สว่างผ่อนปรนจาก กิเลส ปล่อยวางได้ง่าย จิตจะรู้วิธีแก้ปัญหาชีวิตโดยอัตโนมัติ ชีวิตจะเจริญรุ่งเรืองไม่มีวันอับจน ผิวพรรณผ่องใส สุขภาพกายและจิตแข็งแรง เจ้า กรรมนายเวร และญาติมิตรที่ ล่วงลับ จะได้ บุญกุศล 2. สวดมนต์ ด้วย พระคาถา ต่างๆอย่างน้อยวันละครั้งก่อนนอน อานิสงส์ - เพื่อให้ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ คุ้มครอง ชีวิตหน้าที่การงานเจริญก้าวหน้า เงินทองไหลมาเทมา แคล้วคลาดจากอุปสรรคทั้งปวง จิตจะเป็น สมาธิ ได้เร็ว แนะนำพระคาถา พาหุงมหากา, พระคาถาชินบัญชร, พระคาถา ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก เป็นต้น เมื่อสวดเสร็จต้อง แผ่เมตตา ทุกครั้ง 3. ถวายยารักษาโรค ให้วัด, ออกเงินค่ารักษาให้พระตาม โรงพยาบาลสงฆ์ อานิสงส์ - ก่อให้เกิดสุขภาพร่มเย็นทั้งครอบครัว โรคที่ไม่หายจะทุเลา สุขภาพกาย จิตแข็งแรง อายุยืนทั้งภพนี้ และภพหน้า ถ้าป่วยก็จะไม่ขาดแคลนการรักษา 4. ทำบุญตักบาตร ทุกเช้า อานิสงส์ - ได้ช่วยเหลือศาสนาต่อไปทั้งภพนี้และภพหน้า ไม่ขาดแคลนอาหาร ตายไปไม่หิวโหย อยู่ใน ภพ ที่ไม่ขาดแคลน ข้าวปลาอาหาร อุดมสมบูรณ์ 5. ทำหนังสือ หรือสื่อต่างๆเกี่ยวกับ ธรรมะ แจกฟรีแก่ผู้คนเป็น ธรรมทาน อานิสงส์ - เพราะธรรมทานชนะการให้ทานทั้งปวง ผู้ให้ ธรรม จึงสว่างไปด้วย ลาภยศ สรรเสริญ ปัญญา และ บุญบาร มีอย่างท่วมท้น เจ้ากรรมนายเวร อโหสิกรรม ให้ ชีวิตจะเจริญรุ่งเรืองอย่างไม่คาดฝัน 6. สร้างพระ สร้างพระถวายวัด อานิสงส์ - ผ่อนปรนหนี้กรรมให้บางเบา ให้ชีวิตเจริญรุ่งเรือง สิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครอง แคล้วคลาดจากอุปสรรคทั้งปวง ครอบครัวเป็นสุข ได้เกิดมาอยู่ในร่มโพธิ์ ของ พุทธศาสนา ตลอดไป 7. แบ่งเวลาชีวิตไป บวชชีพราหมณ์ หรือ บวชพระ อย่างน้อย 9 วันขึ้นไป อานิสงส์ - ได้ตอบแทนคุณพ่อแม่อย่างเต็มที่ ผ่อนปรน หนี้กรรม อุทิศผลบุญให้ญาติ มิตรและ เจ้ากรรมนายเวร สร้างปัจจัยไปสู่ นิพพาน ในภพต่อๆไป ได้เกิดมาอยู่ในร่มโพธิ์ของ พุทธศาสนา จิตเป็นกุศล 8. บริจาคเลือด หรือ บริจาค ร่างกาย อานิสงส์ - ผิวพรรณผ่องใส สุขภาพแข็งแรง ช่วยต่ออายุ ต่อไปจะมีผู้คอยช่วยเหลือไม่ให้ตกทุกข์ได้ยาก เทพยดา ปกปักรักษา ได้เกิดมามีร่างกายที่งดงามในภพหน้า ส่วน ภพนี้ก็จะมีราศีผุดผ่อง 9. ปล่อยนก ปล่อยปลา ที่ซื้อมาจากตลาดรวมทั้ง ปล่อย สัตว์ ไถ่ชีวิต สัตว์ต่าง ๆ อานิสงส์ - ช่วยต่ออายุ ขจัดอุปสรรคในชีวิต ชดใช้หนี้กรรม ให้ เจ้ากรรมนายเวร ที่ เคยกินเข้าไป ให้ทำมาค้าขึ้น หน้าที่การงานคล่องตัวไม่ติดขัด ชีวิตที่ผิดหวังจะค่อยๆฟื้นคืนสภาพที่สดใสเป็นอิสระ 10. ให้ทุนการศึกษา, บริจาคหนังสือ หรือสื่อการเรียนต่าง ๆ, อาสาสอนหนังสือ อานิสงส์ - ทำให้มี สติปัญญา ดี ในภพต่อ ๆ ไปจะฉลาดเฉลียวมีปัญญา ได้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียนอย่างรอบรู้ สติปัญญาสมบูรณ์พร้อม 11.ให้เงินขอทาน, ให้เงินคนที่เดือดร้อน(ไม่ใช่การให้ยืม) อานิสงส์ - ทำให้เกิดลาภไม่ขาดสายทั้ง ภพนี้ และ ภพหน้า ไม่ตกทุกข์ได้ยาก เกิดมา ชาติหน้า จะร่ำรวยและไม่มีหนี้สิน ความยากจนในชาตินี้จะทุเลาลง จะได้เงินทองกลับ มาอย่างไม่คาดฝัน 12. รักษาศีล 5 หรือ ศีล 8
TOP

จังหวัดในประเทศไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จังหวัด เป็นเขตบริหารราชการส่วนภูมิภาคของประเทศไทย ปัจจุบันมีทั้งสิ้น 75 จังหวัด[1] (ทั้งนี้ไม่นับว่ากรุงเทพมหานครเป็นจังหวัด) จังหวัดถือเป็นระดับการปกครองของรัฐบาลลำดับแรก โดยเป็นหน่วยการปกครองส่วนภูมิภาคที่รวมท้องที่หลาย ๆ อำเภอเข้าด้วยกันและมีฐานะเป็นนิติบุคคล ในแต่ละจังหวัดปกครองด้วยผู้ว่าราชการจังหวัด
การจัดแบ่งกลุ่มจังหวัดออกเป็นภาคต่าง ๆ มีการใช้เกณฑ์ที่แตกต่างกัน โดยมีทั้งการแบ่งอย่างเป็นทางการโดยราชบัณฑิตยสถานสำหรับใช้ในแบบเรียน และการแบ่งขององค์กรต่าง ๆ ตามแต่การใช้ประโยชน์ ชื่อของจังหวัดนั้นจะเป็นชื่อเดียวกับชื่ออำเภอที่เป็นที่ตั้งของศูนย์กลางจังหวัด เช่น ศูนย์กลางการปกครองของจังหวัดเพชรบุรีอยู่ที่อำเภอเมืองเพชรบุรี เป็นต้น แต่ชื่ออำเภอเหล่านี้มักเรียกย่อแต่เพียงว่า "อำเภอเมือง" ยกเว้นจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ใช้ชื่อจังหวัดเป็นชื่ออำเภอที่ตั้งศูนย์กลางการปกครองโดยตรง (อำเภอพระนครศรีอยุธยา)
หน่วยการปกครองย่อยรองไปจากจังหวัดคือ "อำเภอ" ซึ่งมีทั้งสิ้น 878 อำเภอ ซึ่งจำนวนอำเภอนั้นจะแตกต่างกันไปในแต่ละจังหวัด ส่วนเขตการปกครองย่อยของกรุงเทพมหานครมีทั้งหมด 50 เขต

เนื้อหา

[ซ่อน]

ประวัติ

สมัยก่อนการปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน

การปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2435

แผนที่มณฑลเทศาภิบาล พ.ศ. 2458
พ.ศ. 2435 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้มีการปฏิรูประบบการบริหารราชการแผ่นดินครั้งใหญ่ ให้เป็นไปตามอย่างอารยะประเทศในโลกตะวันตก โดยทรงตั้งกระทรวงขึ้นใหม่ 12 กระทรวง และโอนการปกครองหัวเมืองทั้งหมดให้มาขึ้นกับกระทรวงมหาดไทย โดยมีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (ขณะนั้นดำรงพระยศเป็นกรมหมื่นดำรงราชานุภาพ) เป็นองค์ปฐมเสนาบดี
เมื่องานการปกครองส่วนภูมิภาคขึ้นกับกระทรวงมหาดไทยแล้ว การจัดการปกครองด้วยระบบมณฑลเทศาภิบาลจึงได้เริ่มมีขึ้นในปี พ.ศ. 2437 โดยแบ่งระดับการปกครองจากสูดสุงไปหาต่ำสุดเป็นมณฑล, เมือง (เทียบเท่าจังหวัด), อำเภอ, ตำบล และหมู่บ้าน มีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้กำกับดูแลมณฑล การก่อตั้งมณฑลนั้นจะเป็นไปตามลำดับโดยขึ้นอยู่กับความเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญในเชิงยุทธศาสตร์ด้วย วัตถุประสงค์สำคัญในการจัดการปกครองเช่นนี้ ก็เพื่อให้ส่วนกลางสามารถควบคุมดูแลหัวเมืองและจัดการผลประโยชน์แผ่นดินได้อย่างใกล้ชิด และริดลอนอำนาจและอิทธิพลของเจ้าเมืองในระบบเดิมลงอย่างสิ้นเชิง
การเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองดังกล่าว ทำให้ขุนนางท้องถิ่นที่ต้องการรักษาฐานอำนาจและอิทธิพลของตนไว้ ก่อการกบฏต่อต้านอำนาจรัฐในบางภูมิภาค เหตุการณ์กบฎครั้งสำคัญคือกบฏผู้มีบุญอีสาน (หรือ "กบฎผีบาปผีบุญ") ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2445 โดยอาศัยความเชื่อเรื่องยุคพระศรีอาริยเมตไตรย เป็นเครื่องมือในการปลุกระดมประชาชนให้ต่อต้านอำนาจรัฐ ขบวนการผู้มีบุญได้เคลื่อนไหวตามทั่วภาคอีสาน แต่ที่เป็นเหตุใหญ่ที่สุดอยู่ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งกลุ่มกบฎได้ก่อการถึงขั้นเผาเมืองเขมราฐและบังคับให้เจ้าเมืองเขมราฐร่วมขบวนการ แต่ที่สุดแล้วกบฏครั้งนี้ก็ถูกปราบปรามลงในเวลาไม่กี่เดือนต่อมา
หลังปี พ.ศ. 2459 คำว่า "จังหวัด" ได้กลายเป็นคำที่เรียกหน่วยการปกครองระดับต่ำกว่ามณฑลแทนคำว่า "เมือง" เพื่อแยกความกำกวมจากคำว่าเมืองที่ใช้เรียกที่ตั้งศูนย์กลางการปกครองของจังหวัด (อำเภอเมือง)
เมื่อสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงลาออกจาตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยในปี พ.ศ. 2458 นั้น ประเทศสยามได้แบ่งการปกครองออกเป็น 19 มณฑล 72 จังหวัด ทั้งนี้ ได้รวมถึงจังหวัดพระนคร ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงนครบาลจนถึง พ.ศ. 2465
เดือนธันวาคม พ.ศ. 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งหน่วยการปกครองระดับ "ภาค" ขึ้นเพื่อกำกับมณฑล โดยมีผู้ปกครองภาคเรียกว่า "อุปราช" ในระยะนี้ได้มีการตั้งมณฑลต่างๆ เพิ่มขึ้นจนถึงปี พ.ศ. 2465 อีก 4 มณฑล แต่มณฑลดังกล่าวก็ถูกยุบลงในปี พ.ศ. 2468 และมีอีกหลายมณฑลที่ถูกยุบรวมในช่วงเวลาเดียวกัน เพื่อลดรายจ่ายของรัฐบาล อันเนื่องมาจากปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1

สมัยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง

หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศสยามใน พ.ศ. 2475 ระบบมณฑลเทศาภิบาลได้ถูกยกเลิกในปี พ.ศ. 2476 ทำให้จังหวัดกลายเป็นหน่วยการปกครองส่วนภูมิภาคระดับสูงสุด และตั้งแต่หลัง พ.ศ. 2500 เป็นต้นมา ก็ได้มีการจัดตั้งจังหวัดเพิ่มเติมอีกหลายแห่ง โดยการตัดแบ่งอาณาเขตบางส่วนจากจังหวัดที่มีขนาดใหญ่กว่า เช่น ในปี พ.ศ. 2515 ได้มีการแบ่งพื้นที่บางส่วนของจังหวัดอุบลราชธานีมาจัดตั้งเป็นจังหวัดยโสธร ในปี พ.ศ. 2520ได้มีการแบ่งพื้นที่บางส่วนของจังหวัดเชียงรายมาจัดตั้งเป็นจังหวัดพะเยา ในปี พ.ศ. 2525 ได้มีการแบ่งพื้นที่บางส่วนของจังหวัดนครพนมมาตั้งเป็นจังหวัดจังหวัดมุกดาหาร จังหวัดของไทยที่จัดตั้งขึ้นล่าสุดคือจังหวัดหนองบัวลำภู (แยกจากจังหวัดอุดรธานี) จังหวัดสระแก้ว (แยกจากจังหวัดปราจีนบุรี) และจังหวัดอำนาจเจริญ (แยกจากจังหวัดอุบลราชธานี) ทั้งสามจังหวัดนี้จัดตั้งขึ้นพร้อมกันเมื่อปี พ.ศ. 2536
ในปี พ.ศ. 2514 ได้มีการจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรีขึ้นเป็นเขตปกครองรูปแบบพิเศษชื่อ "นครหลวงกรุงเทพธนบุรี" และได้เปลี่ยนชื่อเป็น "กรุงเทพมหานคร" เมื่อ พ.ศ. 2515 ซึ่งเป็นการรวมภารกิจในการปกครองของทั้งสองจังหวัดในรูปแบบเทศบาลเข้าไว้ด้วยกัน ที่มาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นผู้ปกครองสูงสุดของกรุงเทพมหานครนั้น มาจากการเลือกตั้ง ไม่ใช่การแต่งตั้งจากกระทรวงมหาดไทยอย่างจังหวัดอื่น

การแบ่งอย่างเป็นทางการ

วันสำคัญทางศาสนา

วันสำคัญในพระพุทธศาสนา

| ย้อนกลับ | วันสำคัญในพระพุทธศาสนา | วันวิสาขบูชา | วันอาสาฬหบูชา | วันมาฆบูชา | วันเข้าพรรษา | วันออกพรรษา |
 loading picture

                 วันสำคัญในพระพุทธศาสนา เป็นวันที่มีเหตุการณ์ที่สำคัญ อันเนื่องด้วยพระรัตนตรัย คือพระพุทธเจ้า พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า และพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า เหตุการณ์ที่สำคัญดังกล่าว เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่พุทธศาสนิกชนทุกหมู่เหล่า  คือบริษัทสี่อันได้แก่ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และอุบาสิกา ให้น้อมรำลึกถึงคุณของพระรัตนตรัยในหลักที่สำคัญ เพื่อนำไปประพฤติปฏิบัติ เพื่อจรรโลงให้พระพุทธศาสนา ดำรงคงอยู่สถิตสถาพร เป็นคุณประโยชน์อันยิ่งใหญ่แก่ตนเองและแก่สัตว์โลกทั้งปวง ซึ่งมิใช่จำกัดอยู่เพียงมนุษยชาติเท่านั้น
     loading picture
                 วันสำคัญในพระพุทธศาสนา ตามลำดับความสำคัญ และตามลำดับเวลาที่เกิดขึ้นคือ วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา วันมาฆบูชา วันเข้าพรรษา และออกพรรษา
วันวิสาขบูชา

 loading picture loading picture loading picture

                วันวิสาขบูชา เป็นวันที่สมเด็จพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ซึ่งเกิดขึ้นในวันและเดือนเดียวกัน คือ ในวันเพ็ญ(ขึ้น 15 ค่ำ) เดือนหก หรือเดือนเวสาขะ พระจันทร์เสวยวิสาขฤกษ์ เหตุการณ์ดังกล่าวนี้ได้เกิดขึ้นเมื่อกว่าสองพันห้าร้อยปีมาแล้ว ในห้วงระยะเวลาที่ต่างกันคือ loading picture
             ครั้งแรก   เมื่อพระพุทธเจ้าประสูติเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ โอรสพระเจ้าสุทโธธนะ  และ พระนาง สิริมหามายา แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ โดยประสูติที่ป่าลุมพินีวัน ณ เขตแดนรอยต่อระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์ของฝ่ายพระราชบิดา กับกรุงเทวทหะของฝ่ายพระราชมารดา loading picture
                ครั้งที่สอง เกิดเมื่อเจ้าชายสิทธัตถ ออกทรงผนวชได้ 6 ปี พระชนมายุ 35 พรรษา ได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นอรหันตพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ ริ่มฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ประเทศมคธ ปัจจุบันคือที่ตั้งพุทธคยา loading picture
                ครั้งที่สาม   เกิดเมื่อพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จดับขันธปรินิพพาน เมื่อพระชนมายุ 80 พรรษา ณ เมืองกุสินาราย
                เหตุการณ์สำคัญทั้งสามประการนี้ เกิดขึ้นในวันและเดือนเดียวกัน ทางจันทรคติ  ซึ่งนับวันขึ้นแรม ตามวิถีการโคจรของดวงจันทร์ เป็นหลักในการกำหนดวัน เดือน และปีซึ่งยังคงใช้กันมาอยู่จนถึงทุกวันนี้ ควบคู่กันไปกับการกำหนดวัน เดือน และปีทางสุริยคติ  ซึ่งเป็นไปตามวิถีการโคจรของดวงอาทิตย์ นับเป็นเรื่องอัศจรรย์ ซึ่งยังไม่เคยมีการประจวบกันเช่นนี้แก่ผู้หนึ่งผู้ใด และเหตุการณ์หนึ่งเหตุการณ์ใดมาก่อนจนตราบเท่าปัจจุบัน
                แต่ความอัศจรรย์ดังกล่าว ก็ยังไม่เทียบเท่ากับการอุบัติของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าขึ้นมาในโลก และได้ทรงประดิษฐานพระพุทธศาสนาเพื่ออนุเคราะห์โลกให้เกิดประโยชน์สุขแก่มนุษยชาติและสัตว์โลกทั้งมวล
                วันวิสาขบูชาจึงนับว่าเป็นวันสำคัญสูงสุดในพระพุทธศาสนา เป็นวันที่ก่อให้เกิดพระพุทธเจ้า ผู้ตรัสรู้พระธรรมและนำมาสั่งสอนแก่สรรพสัตว์  และพระสงฆ์สาวกผู้สืบพระศาสนาต่อมาจนถึงปัจจุบัน
     loading picture loading picture
                ในวันนี้พุทธศาสนิกชนต่างพากันน้อมระลึกถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ด้วยการไปชุมนุมตามพระอารามต่าง ๆ เพื่อกระทำการบูชาปูชนียวัตถุอันได้แก่ พระธาตุเจดีย์หรือพระพุทธปฏิมา ที่เป็นพระประธานในพระอุโบสถอย่างใดอย่างหนึ่ง ด้วยเครื่องบูชามีดอกไม้ ธูปเทียน เป็นต้น เริ่มด้วยการสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย  ด้วยบทสวดมนตร์ตามลำดับดังนี้คือ
                บทสรรเสริญ พระพุทธคุณ   ด้วยบท " อิติปิโสภควา  อรหังสัมมาสัมพุทโธ...พุทโธภควาต ิ"
                บทสรรเสริญ พระธรรมคุณ  ด้วยบท " สวากขาโต  ภควตาธัมโม...วิญญูหิต ิ"
                บทสรรเสริญ พระสังฆคุณ ด้วยบท " สุปฏิปันโน ภควโตสาวกสังโฆ...โลกัสสาติ "
                จากนั้นก็จะกระทำ ประทักษิณ หรือที่เรียกว่า เวียนเทียน รอบพระธาตุเจดีย์ หรือพระพุทธปฎิมาในพระอุโบสถ ด้วยการเดินเวียนขวาสามรอบ    รอบแรกจะสวดบทสรรเสริญพระพุทธคุณ   รอบที่สองจะสวดบทสรรเสริญพระธรรมคุณ    และรอบที่สามสวดบทสรรเสริญพระสังฆคุณ     เมื่อครบ 3 รอบแล้วจึงนำดอกไม้ ธูป เทียน ไปบูชาพระธาตุเจดีย์ หรือพระพุทธรูปในพระอุโบสถ  ณ ที่บูชาอันควรเป็นอันเสร็จพิธีเวียนเทียน
                 จากนั้นก็จะมีการแสดงพระธรรมเทศนาในพระอุโบสถ ซึ่งปกติจะมีเทศน์ ปฐมสมโพธิ ซึ่งเป็นเรื่องพระพุทธประวัติตั้งแต่ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน  พิธีเริ่มตั้งแต่ประชุมฟังพระทำวัตรสวดมนต์ แล้วจึงฟังเทศน์ซึ่งจะมีไปตลอดรุ่ง
                 วันวิสาขบูชาจึงเป็นวันที่พุทธศาสนิกชน ได้บำเพ็ญประโยชน์ตน และสืบต่อพระพุทธศาสนา ให้ดำรงคงอยู่อย่างถูกต้องตรงทาง เพื่อประโยชน์สุขของตนและของผู้อื่นตลอดชั่วกาลนาน
    | ย้อนกลับ | วันสำคัญในพระพุทธศาสนา | วันวิสาขบูชา | วันอาสาฬหบูชา | วันมาฆบูชา | วันเข้าพรรษา | วันออกพรรษา | บน |

คนสำคัญของไทย

ยินดีต้อนรับค่ะ

posted on 29 Nov 2007 10:47 by personinhistory
                                      
                       บทนำ
     จากการเรียนวิชาสังคมศึกษา มีเรื่องราวต่างๆ
ของไทยที่น่าสนใจ โดยเฉพาะในเรื่องของ
บุคคลสำคัญของไทย นับตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึง 
ปัจจุบัน  พวกท่านเหล่านี้ล้วนแต่ได้ทำคุณประโยชน์
ในด้านต่างๆ ให้กับ ไทยมากมาย  ซึ่งเรื่องราวของ
แต่ละท่านล้วนทรงคุณค่าควรแก่การยกย่อง
และประวัติของท่านแต่ละท่านล้วนให้ความรู้
แตกต่างกันในแต่ละด้าน เช่น ด้านการปกครอง 
ด้านการทหาร  ด้านการต่างประเทศ  เป็นต้น 
ดังนั้นจึงจัดทำโครงการนี้ขึ้น  เพื่อเป็นการศึกษา
รวบรวมข้อมูลที่ควรรู้ เพื่อสืบทอด เรียนรู้ถึงประวัติ
และผลงานต่างๆ ของบุคคลสำคัญของไทย
ให้เป็นระบบ และมีรูปแบบการนำเสนอที่น่าสนใจ
และง่ายต่อการศึกษาอีกด้วย
     นอกจากนี้ต้องขอขอบพระคุณ
ท่านอาจารย์ปรางค์สุวรรณ  ศักดิ์โสภณกุล
อาจารย์ประจำวิชาสังคมศึกษา (ส43105)
ที่เป็นที่ปรึกษาและให้การสนับสนุน พวกเราเป็นอย่างดีค่ะ
หากมีข้อผิดพลาดประการใดต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ
                                 คณะผู้จัดทำ
                         ม.6.11  โรงเรียนสตรีวิทยา
                      
                              
     อาจารย์ปรางค์สุวรรณ  ศักดิ์โสภณกุล
    
              

วันอาทิตย์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2554

นักวิทยาศาสตร์โลก

วันรัฐธรรมนูญ

          วันรัฐธรรมนูญ เป็นวันสำคัญทางประวัติศาสตร์อีกวันหนึ่ง ซึ่งตรงกับวันที่ 10 ธันวาคม ของทุกปี
ความหมายของรัฐธรรมนูญ

          รัฐธรรมนูญ หมายถึง กฎหมายว่าด้วยระเบียบการปกครองประเทศ
          วันรัฐธรรมนูญ ตรงกับ วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวร เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย
ประวัติความเป็นมา

          การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 นับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์การปกครองของชาติไทย เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ

สาเหตุที่เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง  
           พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 แห่งราชวงศ์จักรีทรงมีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย 

           หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ผลอันนี้ได้กระทบมาถึงไทยด้วย พระองค์ได้แก้ไขเศรษฐกิจโดยปลดข้าราชการออก ยังความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการ 

           อิทธิพลจากตะวันตกเกี่ยวกับอุดมการทางการเมือง ทำให้กลุ่มคนหนุ่มต้องการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน 

           รัฐบาลได้ออกกฏหมายเก็บภาษี อาทิ ภาษีโรงเรือน ภาษีที่ดิน จากราษฎร
 

          จากสาเหตุดังกล่าวข้างต้น ทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการทหาร และราษฎรทั่วไปจึงทำให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยการปฏิวัติ มีคณะผู้รักษาการพระนครฝ่ายทหาร ซึ่งประกอบด้วยพันเอก พระยาพหลพยุหเสนา พันเอกพระยาทรงสุรเด และพันเอกพระฤทธิอาคเนย์ เป็นผู้บริหารประเทศ
          วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวเรียกว่า "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว" สาระสำคัญของธรรมนูญการปกครองฉบับนี้ได้แก่ การที่กำหนดว่าอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศหรืออำนาจอธิปไตยเป็นของราษฎรทั้งหลาย การใช้อำนาจสูงสุดก็ให้มีบุคคลคณะบุคคลเป็นผู้ใช้อำนาจแทนราษฎรดังนี้ คือ

           พระมหากษัตริย์
           สภาผู้แทนราษฎร
           คณะกรรมการราษฎร
           ศาล

          ลักษณะการปกครองแม้จะเปลี่ยนระบอบการปกครองมาเป็นประชาธิปไตยแต่ก็ถือว่าพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ เป็นสถาบันที่ถาวรและมีการสืบราชสมบัติต่อไปในพระราชวงศ์ การปฏิบัติราชการต่างๆ จะต้องมีกรรมการราษฎรผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ โดยได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการราษฎรจึงจะใช้ได้
วันรัฐธรรมนูญ

          สถาบันที่เกิดใหม่คือ สภาผู้แทนราษฎรซึ่งมีอำนาจทางนิติบัญญัติออกกฎหมายต่างๆ ซึ่งเมื่อพระมหากษัตริย์ลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้แล้วจึงมีผลบังคับได้ เหตุนี้ในระยะแรกของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง สภาผู้แทนจึงเป็นสถาบันที่มีอำนาจสูงสุดในทางการเมือง ส่วนการใช้

ดอกไม้ประจำชาติ

สัตว์เลื้อยคลาน

สัตว์เลื้อยคลาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สัตว์เลื้อยคลาน
ตามเข็มนาฬิกาจากบนซ้าย จระเข้, เต่า, งู, ทัวทารา ล้วนจัดอยู่ในประเภทสัตว์เลื้อยคลาน
ตามเข็มนาฬิกาจากบนซ้าย จระเข้, เต่า, งู, ทัวทารา ล้วนจัดอยู่ในประเภทสัตว์เลื้อยคลาน
สัตว์เลื้อยคลาน (อังกฤษ: Reptilia) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Reptilia มาจากคำว่า Repera ที่มีความหมายว่า "คลาน" เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่จัดเป็นสัตว์ในกลุ่มแรก ๆ ของโลกที่มีการดำรงชีวิตบนบกอย่างแท้จริง สัตว์เลื้อยคลานในยุคดึกดำบรรพ์ที่รอดชีวิตจากการสูญพันธุ์และยังดำรงชีวิตในปัจจุบัน มีจำนวนมากถึง 7,000 ชนิด[1] กระจายอยู่ทั่วโลกทั้งชนิดอาศัยในแหล่งน้ำและบนบก จัดเป็นกลุ่มของสัตว์ที่ประสบความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนสภาพร่างกายในการเอาตัวรอดจากเหตุการณ์หินอุกกาบาตพุ่งชนโลกมามากกว่า 100 ล้านปีมาแล้ว
ในยุคจูแรคสิค (Jurassic period) ที่อยู่ในมหายุคมีโซโซอิค (Mesozoic era) ซึ่งมีอายุของยุคที่ยาวนานถึง 100 ล้านปี จัดเป็นยุคที่สัตว์เลื้อยคลานมีวิวัฒนาการจนถึงขีดสุด[2] มีสัตว์เลื้อยคลานมากมายหลากหลายขนาด ตั้งแต่กิ้งก่าตัวเล็ก ๆ จนถึงไทรันโนซอรัส เร็กซ์ซึ่งเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ ที่มีจำนวนมากมายครอบครองพื้นที่ทั่วทุกแห่งในโลก ยุคจูแรคสิคจึงถือเป็นยุคของสัตว์เลื้อยคลานอย่างแท้จริง ต่อมาภายหลังเกิดเหตุการณ์อุกกาบาตพุ่งชนโลก ทำให้กลุ่มสัตว์บกที่อาศัยในยุคจูแรคสิค เกิดล้มตายและสูญพันธุ์อย่างกระทันหันโดยไม่ทราบสาเหตุของการสูญพันธุ์ที่ชัดเจนและแน่นอน

เนื้อหา

[ซ่อน]

[แก้] การสูญพันธุ์และการปรับตัว

จากเหตุการณ์อุกกาบาตพุ่งชนโลกเมื่อ 100 ล้านปีมาแล้ว ทำให้สัตว์เลื้อยคลานในยุคจูแรคสิคเกิดการสูญพันธุ์อย่างกระทันหัน จำนวนที่เคยมีมากถึง 12 กลุ่ม ได้ลดจำนวนลงเหลืออยู่เพียง 4 กลุ่มเท่านั้น ซึ่งกลุ่มของสัตว์เลื้อยคลานที่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ดีที่สุดคืองู และสัตว์เลื้อยคลานจำพวกลิซาร์ดได้แก่ จิ้งจก ตุ๊กแก กิ้งก่า จิ้งเหลน และเหี้ย รองลงมาเป็นจระเข้และแอลลิเกเตอร์ สำหรับสัตว์เลื้อยคลานกลุ่มที่ยังคงลักษณะทางกายภาพแบบโบราณ ที่ไม่มีการปรับตัวให้แตกต่างไปจากบรรพบุรุษคือเต่า และสัตว์เลื้อยคลานในกลุ่มสุดท้ายคือทัวทารา ซึ่งมีเพียงชนิดเดียวและสามารถพบเห็นได้ที่นิวซีแลนด์เพียงประเทศเดียวเท่านั้น[3]
สัตว์เลื้อยคลาน มีการปรับสภาพร่างกายที่แตกต่างไปจากสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกหลายอย่าง ซึ่งทำให้สัตว์เลื้อยคลานนั้น สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสภาพภูมิอากาศที่ร้อนและแห้งแล้งในทะเลทรายได้ แต่สำหรับสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกไม่สามารถดำรงชีวิตในทะเลทรายได้ เนื่องจากเวลาผสมพันธุ์ จะต้องอาศัยแหล่งน้ำเป็นตัวกลางในการผสมพันธุ์ ผิวหนังของสัตว์เลื้อยคลานมีความแห้ง หยาบกระด้างกว่าผิวหนังที่ลื่น และเป็นเมือกของสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก ซึ่งจะช่วยป้องกันการระเหยของน้ำออกจากร่างกาย และช่วยป้องกันอันตรายให้แก่ผิวหนังรวมทั้งไม่มีต่อมเหงื่อและต่อมน้ำมันอยู่ใต้ชั้นของผิวหนัง ซึ่งช่วยทำให้ป้องกันการสูญเสียน้ำและการระเหยของน้ำได้เป็นอย่างดี
สิ่งสำคัญที่สุดคือ สัตว์เลื้อยคลานนั้นจะวางไข่บนพื้นดิน และมีการวิวัฒนาการให้มีการปฏิสนธิของตัวอ่อนภายในเปลือกไข่ ซึ่งเป็นการปรับตัวตามสภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อให้มีการดำรงชีวิตให้รอดพ้นจากแหล่งน้ำ นอกจากนี้ยังมีการวิวัฒนาการของเปลือกไข่ เพื่อช่วยให้ตัวอ่อนภายในไข่มีชีวิตรอดออกมาเป็นตัว เปลือกไข่ของสัตว์เลื้อยคลานทำให้สามารถวางไข่บนพื้นดินแห้งได้ เอมบริโอจะเจริญเติบโตและลอยตัวอยู่ในของเหลวภายใน ที่ทำหน้าที่ห่อหุ้มเยื่อหุ้มไข่ (Amnion) เอมบริโอจึงมีของเหลวล้อมรอบเช่นเดียวกับการวางไข่ในแหล่งน้ำ นอกจากนี้เอมบริโอยังมีถุงอาหารที่มีเยื่ออัลแลนทอยส์ (Allantois) ซึ่งเป็นเยื่อสำหรับการแลกเปลี่ยนแก๊สผ่านเปลือกไข่ ที่เยื่ออัลแลนทอยส์ จะมีถุงสำหรับสะสมของเสียที่เกิดขึ้นในระหว่างการเจริญเติบโต จนเป็นตัวเต็มวัยก่อนออกจากเปลือกไข่ ซึ่งการที่สัตว์เลื้อยคลานสามารถวางไข่บนบกได้นั้น จึงเป็นผลของการวิวัฒนาการร่างกายที่ดีกว่าสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก

[แก้] วิวัฒนาการ

สัตว์ต้นตระกูลขนาดเล็ก ต้นตระกูลของสัตว์เลื้อยคลาน
สัตว์เลื้อยคลาน มีวิวัฒนาการมาจากสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกในกลุ่ม Labyrinthodont ที่นักชีววิทยาต่างยอมรับในด้านของการวิวัฒนาการ เป็นสัตว์ที่มีเกล็ดปกคลุมผิวหนังทั่วทั้งลำตัวเช่นเดียวกับปลาที่มีชีวิตอยู่ในยุคคาร์โบนิเฟอรัส (Carboniferous period) ในมหายุคพาลีโอโซอิค (Palaeozoic era) หรือเมื่อประมาณ 280 ล้านปีมาแล้ว สัตว์เลื้อยคลานที่เป็นต้นตระกูลของสัตว์เลื้อยคลานทั้งหมดคือ Captorhinomorphs ซึ่งมีรูปร่างและลักษณะคล้ายคลึงกับสัตว์จำพวกกิ้งก่า สัตว์ต้นตระกูลของสัตว์เลื้อยคลาน จัดเป็นสัตว์ขนาดที่มีขนาดลำตัวเล็ก อาหารส่วนใหญ่จึงเป็นแมลง
จากสัตว์ต้นตระกูลขนาดเล็ก ได้มีการวิวัฒนาการทางด้านกายภาพอย่างรวดเร็ว กลายเป็นสัตว์เลื้อยคลานในกลุ่มต่าง ๆ ซึ่งกลุ่มที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงสุดในการวิวัฒนาการ มีด้วยกันทั้งหมด 4 กลุ่ม ได้แก่ไดโนเสาร์ (Dinosaurs) สัตว์เลื้อยคลานที่อาศัยอยู่ในทะเล (Marinereptiles - euryapsida) สัตว์เลื้อยคลานที่สามารถบินได้ (Flying reptiles - pterisaurs) และสัตว์เลื้อยคลานที่มีลักษณะรูปร่างคล้ายคลึงกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (Mammal reptiles - therapsida)
สัตว์เลื้อยคลานมีการปรับสภาพร่างกายตั้งแต่ในยุคไตรแอสสิค (Triassic period) และมีวิวัฒนาการในการด้านปรับสภาพร่างกายจนถึงขีดสุดในยุคต่อมาคือยุคจูแรคสิค ซึ่งเป็นยุคที่มีสัตว์เลื้อยคลานมากที่สุดในขณะนั้นคือไดโนเสาร์และเทอโรซอส์ จนได้รับการขนานนามสัตว์เลื้อยคลานเหล่านี้ว่า "สัตว์เลื้อยคลานเจ้าโลก" (Ruling eptile) เนื่องจากในยุคนั้น เป็นยุคที่มีสัตว์เลื้อยคลานครอบครองโลก แต่เมื่อถึงปลายยุคครีเทเซียส หรือเมื่อประมาณ 65 - 80 ล้านปีมาแล้ว สัตว์เลื้อยคลานทั้ง 2 กลุ่มได้เกิดการสูญพันธุ์ ล้มตายลงเป็นจำนวนมากอย่างกระทันหันโดยไม่ทราบสาเหตุของการสูญพันธุ์ และในตอนปลายของยุคครีเทเซียส ได้เกิดการเปลี่ยนปลงต่าง ๆ จำนวนมากเช่น เกิดพืชและไม้ดอกในยุคปัจจุบัน
ภายหลังจากสัตว์เลื้อยคลานเริ่มสูญพันธุ์ และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมเริ่มมีการแพร่กระจายเผ่าพันธุ์อย่างรวดเร็ว จนครอบครองโลกแทนสัตว์เลื้อยคลาน สภาพภูมิอากาศจากที่ร้อนจัดจนสิ่งมีชีวิตไม่สามารถอาศัยอยู่ได้ เริ่มเย็นลงตามลำดับและมีการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม พันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ที่ปรากฏในยุคปัจจุบันเริ่มถือกำเนิดขึ้น แต่ไดโนเสาร์และเทอโรซอส์ไม่อาจปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างกระทันหัน หรืออาจสูญพันธุ์จากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปร่วมกับปัจจัยในด้านนิเวศวิทยา
แต่ยังมีสัตว์เลื้อยคลาน 4 กลุ่มและบางชนิด ที่สามารถเอาตัวรอดจากการสูญพันธุ์ได้ จนมีชีวิตอยู่ในยุคปัจจุบันเช่นเต่าที่จัดเป็นสัตว์เลื้อยคลานในยุคโบราณ ที่ยังมีชีวิตรอดมาได้เนื่องจากมีกระดองสำหรับป้องกันตัวเอง งูและสัตว์เลื้อยคลานจำพวกลิซาร์ด อาศัยอยู่ในพื้นที่บริเวณที่เป็นป่าโปร่ง และตามซอกหิน ช่วยทำให้รอดพ้นจากศัตรู จระเข้และแอลลิเกเตอร์มีขนาดร่างกายที่ใหญ่และดูน่ากลัว รวมทั้งพละกำลังมหาศาลทำให้มีศัตรูน้อย เป็นต้น

[แก้] ลักษณะทั่วไป

รยางค์และนิ้วเท้าของแอลลิเกเตอร์ มักแผ่ออกเพื่อช่วยในการเคลื่อนไหว
ลักษณะกระดองของเต่า ที่เป็นผิวหนังชั้นเยื่อบุผิว
สัตว์เลื้อยคลานโดยทั่วไป จะมีรยางค์เป็นคู่และมักจะมีนิ้วเท้าทั้งหมด 5 นิ้วเสมอ[4] เพื่อช่วยในการเคลื่อนที่ไปมาได้อย่างรวดเร็ว โครงร่างโดยทั่วไปประกอบด้วยกระดูกที่มีการเจริญเติบโตเป็นอย่างดี ในการจำแนกสัตว์เลื้อยคลาน จะใช้วิธีการอาศัยลักษณะของกะโหลก ซึ่งมีความแตกต่างกันในสัตว์เลื้อยคลานแต่ละกลุ่มเป็นตัวจำแนกเช่น งูมีข้อกระดูกสันหลังจำนวนมาก ไม่มีกระดูกอกและไม่มีกระดูกรองรับแขนขา
มีการปรับโครงสร้างและสภาพร่างกายเพื่อรองรับการปีนป่าย การวิ่ง รวมทั้งการว่ายน้ำ ซึ่งการปรับเปลี่ยนสภาพร่างกายของสัตว์เลื้อยคลาน จะไม่เกิดขึ้นทั้งหมด แต่จะมีเพียงบางกลุ่มเท่านั้นเช่น งู และสัตว์จำพวกกิ้งก่าบางชนิดที่ไม่มีรยางค์ มีผิวหนังหรือระบบเครื่องห่อหุ้ม (Integumentary system) ซึ่งจะแตกต่างกันตามรูปร่างและลักษณะของสัตว์เลื้อยคลาน ที่มีความแตกต่างกันไปในกลุ่มต่าง ๆ ผิวหนังและตลอดทั่วทั้งลำตัวมีเกล็ดแข็งขึ้นปกคลุม ซึ่งเป็นเกล็ดที่เกิดจากอิพิเดอร์มิส (Horny epidermal scale) และอาจจะมีแผ่นกระดูกจากชั้นของผิวหนังเดอร์มิส (Dermal plate) ร่วมอยู่ด้วย
มีต่อมที่บริเวณผิวหนังน้อยมากหรือไม่มีเลยในบางกลุ่มและบางชนิด สัตว์เลื้อยคลานมีผิวหนังที่ประกอบด้วยอิพิเดอร์มิสที่บางและหนา มีเดอร์มิสที่มีเซลล์เม็ดสี (Chromatophore) ช่วยทำให้ผิวหนังของสัตว์เลื้อยคลานมีสีสันต่าง ๆ เช่น สีเกล็ดของงูชนิดต่าง ๆ สีเกล็ดของจระเข้ หรือสีเกล็ดของกิ้งก่า จิ้งเหลน เป็นต้น เกล็ดของสัตว์เลื้อยคลานส่วนใหญ่เกิดจากอิพิเดอร์มิส ซึ่งในบางชนิดจะมีเกล็ดถาวรตลอดชีวิต ตั้งแต่ออกจากไข่จนเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัยเช่น จระเข้ เหี้ย มังกรโคโมโด แอลลิเกเตอร์ ฯลฯ
แต่สำหรับสัตว์เลื้อยคลานบางชนิดเช่นจิ้งจก งู หรือกิ้งก่า จะทำการสร้างเกล็ดขึ้นมาใหม่ภายใต้ชั้นผิวหนังที่มีเกล็ดเดิมปกคลุมอยู่ การสร้างเกล็ดใหม่จะช่วยทำให้เกล็ดเดิมที่บริเวณชั้นผิวหนังของสัตว์เลื้อยคลาน เกิดการลอกหลุดออกทั้งชั้นเช่นการลอกคราบของงู โดยงูจะทิ้งเกล็ดเดิมเอาไว้ทั้งหมดด้วยวิธีการปลิ้นออกจากร่างกายตั้งแต่หัวจรดหาง โดยที่คราบจะยังคงรูปเดิมเอาไว้และไม่ฉีกขาด แต่สำหรับลิซาร์ดหรือสัตว์จำพวกกิ้งก่า จะใช้วิธีการทำให้เกล็ดที่ปกคลุมผิวหนังอยู่เดิมนั้นเกิดการแตกแยกออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วเกล็ดใหม่จะขึ้นมาแทนที่เกล็ดเดิมที่หลุดออกไป
เต่าจะมีกระดองที่เป็นผิวหนังชั้นเยื่อบุผิว ซึ่งกระดองเต่านั้นจะเป็นแผ่นเกล็ดปกคลุมร่างกาย (Epidermal horny shield scutes) และผิวหนังชั้นในที่มีแผ่นกระดูก (Dermal hony plate) ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของกระดูก มีลักษณะติดอยู่กับด้านในของแผ่นเกล็ด ซ้อนกันเป็นชั้นจนกลายเป็นกระดองของเต่าที่มีความแข็งแรงคงทน สำหรับช่วยป้องกันอันตรายต่าง ๆ ให้แก่เต่า กระดองเต่าบริเวณด้านหลังเรียกว่าคาราเพส (Carapace) มีลักษณะเหมือนกับรูปโดม ขนาดเล็กหรือใหญ่ของกระดองเต่าจะขึ้นอยู่กับลักษณะภายนอกและขนาดของเต่าเป็นสำคัญ
กระดูกสันหลังและกระดูกซี่โครงของเต่า จะขยายตัวออกและเชื่อมติดกันเป็นเนื้อเดียว ติดกับบริเวณผิวด้านในของเกล็ด สำหรับกระดองเต่าบริเวณด้านท้องเรียกว่าพลาสทรอน (Plastron) จะมีกระดูกรองรับบริเวณแขน ขา และส่วนกระดูกบริเวณอกที่แบนลงไปจะเกาะติดกับบริเวณด้านในของเกล็ดบริเวณด้านท้องของกระดองเต่า แผ่นเกล็ดและแผ่นกระดูกจะมีการเรียงตัวอย่างสวยงามและเหลื่อมซ้อนกันอย่างเป็นระเบียบ ซึ่งระหว่างกระดองเต่าบริเวณด้านหลังและกระดองเต่าบริเวณด้านท้อง จะมีเยื่อหรือกระดูกที่เชื่อมต่อทางด้านข้าง แต่สำหรับเต่าบางชนิดนั้นจะไม่มีแผ่นเกล็ด ผิวหนังบริเวณลำตัวจะมีความอ่อนนุ่มและเหนียวคล้ายคลึงกับผิวหนังแทน

[แก้] การจำแนกหมวดหมู่สัตว์เลื้อยคลาน

การจำแนกหมวดหมู่ของสัตว์เลื้อยคลานในปัจจุบัน จากเดิมที่เคยมีมากถึง 12 กลุ่ม แต่ภายหลังจากการสูญพันธุ์อย่างกระทันหันของไดโนเสาร์ จึงเหลือกลุ่มของสัตว์เลื้อยคลานเพียงแค่ 4 กลุ่มเท่านั้น และเป็นการจัดอันดับของสัตว์เลื้อยคลานตามแบบของ Hickman et al., 198 ดังนี้[5]
  • Order Squamata
สัตว์เลื้อยคลานในอันดับนี้ มีผิวหนังเป็นเกล็ดปกคลุมร่างกายสำหรับป้องกันตัว มีฟันเกาะอยู่กับขากรรไกร มีกระดูกสันหลังที่เว้าบริเวณด้านหน้า ทวารหนักเป็นช่องตามแนวขวาง ได้แก่งูซึ่งมีจำนวนประมาณ 3,000 ชนิด และสัตว์เลื้อยคลานจำพวกลิซาร์ดหรือกิ้งก่าและงู ซึ่งมีจำนวนประมาณ 3,800 ชนิด
  • Order Testudines
สัตว์เลื้อยคลานในอันดับนี้ มีร่างกายที่มีสิ่งห่อหุ้ม มีลักษณะเป็นแผ่นกระดูกที่เกิดจากชั้นผิวหนังเดอร์มิส ขากรรไกรไม่มีฟัน กระดูกสันหลังและกระดูกซี่โครงเชื่อมต่อกันเป็นเนื้อเดียวกัน เป็นโครงร่างหรือกระดองภายใน ทารหนักเป็นช่องตามแนวยาว ได้แก่เต่าซึ่งมีจำนวนประมาณ 250 ชนิด
  • Order Crocodilia
สัตว์เลื้อยคลานในอันดับนี้ มีกระดูกสันหลังที่มีลักษณะเว้าบริเวณด้านหน้า ขาคู่หน้ามักจะมีนิ้วเท้า 5 นิ้ว และขาคู่หลังมี 4 นิ้วเสมอ ทวารหนักเป็นช่องตามแนวยาว ได้แก่จระเข้และแอลลิเกเตอร์ ซึ่งมีจำนวนประมาณ 25 ชนิด
  • Order Rhynchocephalia
สัตว์เลื้อยคลานในอันดับนี้ มีกระดูกสันหลังที่เว้าทั้ง 2 ด้าน มีนัยน์ตาอยู่บริเวณกลางศีรษะ (Parietal eye) ทวารหนักเป็นช่องตามแนวขวาง ได้แก่ทัวทาราซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานเพียงชนิดเดียวในอันดับนี้

[แก้] สัตว์เลื้อยคลานจำพวกลิซาร์ดและงู

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ กิ้งก่า จิ้งจก จิ้งเหลน ตุ๊กแก งู
กิ้งก่า สัตว์ในอันดับ Order Squamata
ตุ๊กแก สัตว์ในอันดับ Order Squamata
งู สัตว์ในอันดับ Order Squamata
สัตว์เลื้อยคลานจำพวกลิซาร์ดได้แก่กิ้งก่าชนิดต่าง ๆ และงู ถือเป็นผลจากการวิวัฒนาการร่างกายในระดับสูงสุด มีจำนวนประมาณร้อยละ 95 ของสัตว์เลื้อยคลานที่สามารถรอดชีวิตจากการสูญพันธุ์ในยุคครีเทเซียส ในขณะที่ไดโนเสาร์มีวิวัฒนาการที่เจริญอย่างถึงขีดสุด ความสำเร็จในการเอาตัวรอดของสัตว์เลื้อยคลานจำพวกลิซาร์ด เกิดจากการวิวัฒนาการขากรรไกร ทำให้เกิดความคล่องตัวและการเคลื่อนไหวไปมา งูมีการวิวัฒนาการจนถึงขีดสุดในยุคครีเทเซียสตอนปลาย ซึ่งอาจจะเป็นการวิวัฒนาการมาจากสัตว์เลื้อยคลานจำพวกลิซาร์ด ทำให้มีขากรรไกรที่คล่องตัวเช่นเดียวกัน แต่สำหรับงูที่จัดอยู่ในกลุ่มที่ฝังตัวเองภายในดิน ได้มีการพัฒนาการตัวเองให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม ทำให้สามารถกินเหยื่อที่มีขนาดใหญ่กว่าตัวเองได้เหลายเท่า
มีถิ่นที่อยู่อาศัยและแพร่กระจายในวงกว้าง สามารถดำรงชีวิตบนบกหรือฝังตัวเองอยู่ใต้ดิน อาศัยในแหล่งน้ำ พุ่มไม้ และมีบางกลุ่มที่สามารถร่อนไปมาระหว่างต้นไม้ได้ ซึ่งสัตว์เลื้อยคลานจำพวกลิซาร์ดที่หลงเหลือในปัจจุบันได้แก่จิ้งจก ตุ๊กแก ที่จัดเป็นสัตว์ขนาดเล็ก ปราดเปรียวว่องไว ออกหากินในเวลากลางคืน นิ้วเท้ามี 5 นิ้วและแผ่ออก สามารถไต่และยึดเกาะกับผนังและเพดานได้ดี อิกัวนาในนิวซีแลนด์จะมีเกล็ดที่ปกคลุมผิวหนังที่มีสีสันสดใส มีแผงหลังเป็นสันตามยาว บริเวณแผงคอแผ่ออกคล้ายกับพัด จิ้งเหลนจะมีลำตัวยาว ขามีขนาดเล็ก
สัตว์เลื้อยคลานจำพวกลิซาร์ดเช่น กิ้งก่า ซึ่งดำรงชีวิตอยู่ตามพุ่มไม้ในทวีปแอฟริกาและเกาะมาดากัสการ์มีลักษณะที่แตกต่างไปจากกิ้งก่าที่อาศัยในแถบทวีปอื่นเล็กน้อย ปลายลิ้นจะมีสารเหนียวสำหรับจับแมลง ซึ่งลักษณะตามถิ่นที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อม จะเป็นตัวกำหนดให้ต้องมีการปรับตัวเฉพาะอย่างเช่น ในประเทศอินเดียมีกิ้งก่าบินสีฟ้า ที่มีผนังข้างลำตัวแผ่ออกเป็นปีกบาง ๆ ทำให้สามารถร่อนไปมาระหว่างต้นไม้ได้ หรือมังกรโคโมโดที่ปัจจุบันมีอยู่เฉพาะที่ประเทศอินโดนีเซียเท่านั้น จัดเป็นสัตว์เลื้อยคลานจำพวกลิซาร์ดที่มีขนาดรูปร่างใหญ่โตที่สุด โดยทั่วไปขนาดลำตัวยาวประมาณ 3 เมตร กินกวางขนาดเล็ก หมูป่าและแกะเป็นอาหาร หรือตุ๊ดตู่ที่พบได้ตามหมู่เกาะมาลายู สุมาตรา บอร์เนียว พม่าและไทย
ชนิดที่มีพิษได้แก่ Beaded lizard จะมีเกล็ดปกคลุมผิวหน้าที่มีลักษณะคล้ายลูกปัด มีอยู่ 2 ชนิดคือ Gila monsters ชนิด Heloderma suspectum อาศัยอยู่ในแถบทะเลทรายทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของอเมริกา เป็นชนิดที่สามารถสะสมไขมันไว้ที่บริเวณปลายหาง และ Heloderma horridum ในเม็กซิโกและอเมริกากลาง สัตว์เลื้อยคลานจำพวกลิซาร์ดทั้ง 2 ชนิด จะเปลี่ยนแปลงต่อมบริเวณผนังขากรรไกรด้านล่าง ให้สามารถสร้างพิษแล้วส่งมาตามร่องฟันในเวลากัดเหยื่อ ซึ่งลักษณะของวิธีการส่งพิษแบบนี้ จึงไม่มีประสิทธิภาพมากนัก และไม่เป็นอันตรายร้ายแรงเหมือนถูกงูกัด บาดแผลจะหายเป็นปกติในระยะเวลาอันสั้น
ชนิดที่ดำรงชีวิตอยู่ในทะเลทราย จะมีวิธีการรักษาอุณหภูมิของสภาพร่างกายให้ทนต่อสภาพอากาศร้อนจัดตามธรรมชาติ โดยสร้างพฤติกรรมในการรักษาอุณหภูมิของร่างกาย ด้วยการออกจากที่ที่ฝังตัวเพื่อมานอนอาบแดดในตอนเช้าในขณะที่อากาศเริ่มอุ่น ลักษณะลำตัวเฉพาะที่แผ่แบนจะช่วยดูดซึมเอาความร้อนจากดวงอาทิตย์ได้เป็นอย่างดี เมื่ออากาศเริ่มร้อนขึ้นตามลำดับ จะหันหัวเข้าหาดวงอาทิตย์เพื่อให้บริเวณลำตัวถูกแสดงแดดให้น้อยที่สุด เมื่ออากาศเปลี่ยนเป็นร้อนจัดในตอนเที่ยงก็จะกลับเข้าไปอยู่ในรู และเมื่อดวงอาทิตย์ใกล้ลับขอบฟ้า อากาศเริ่มเย็นลงก็จะออกมานอนอาบแดดใหม่อีกครั้งจนกว่าแสงแดดจะหมด จึงจะกลับเข้าไปฝังตัวในรูอีกครั้ง
พฤติกรรมดังกล่าว จะช่วยให้สามารถรักษาอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่อยู่ในระหว่าง 36 - 39 องศาเซลเซียส ในขณะที่สภาพภูมิอากาศมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิตลอดเวลา คืออยู่ในระหว่าง 29 - 44 องศาเซลเซียส แต่มีบางชนิดที่สามารถทนต่อสภาพแวดล้อมและอุณหภูมิที่ร้อนจัดได้เช่น เหี้ยที่อาศัยอยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของอเมริกา ต้องการรักษาอุณหภูมิร่างกายอยู่ที่ 42 องศาเซลเซียส แต่สามารถทนต่อสภาพอากาศร้อนจัดได้ถึง 47 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่นกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมไม่สามารถทนได้
สัตว์เลื้อยคลานจำพวกลิซาร์ดเช่น กิ้งก่าจำนวนมากที่มีความสามารถในการเอาตัวรอดด้วยการสลัดหางทิ้งในเวลาถูกจับตัว เป็นลักษณะหนึ่งของการเอาตัวรอดด้วยการดัดแปลงส่วนบริเวณโคนหาง ให้สามารถหลุดขาดออกจากลำตัวได้อย่างง่ายดาย โดยที่กระดูกปลายหางตอนกลางจะมีร่องตามขวาง เมื่อถูกศัตรูจับหรือตะปบได้ รอยต่อตรงร่องกระดูกจะขาดออกแล้วสลัดหางทิ้งเพื่อเป็นการดึงดูดความสนใจก่อนจะหลบหนีไป หลังจากนั้นร่างกายจะสร้างกระดูกบริเวณส่วนหางและกล้ามเนื้อขึ้นมาแทนใหม่อีกครั้ง
สำหรับงูซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานที่ไม่มีขา เป็นเพียงชนิดเดียวที่ไม่มีกระดูกรองรับแขน (Pectoral girdle) และไม่มีกระดูกเชิงกราน (Pelvic girdle) แต่สำหรับงูที่มีขนาดลำตัวใหญ่โตเช่น งูเหลือม งูหลามหรืออนาคอนดา ยังคงหลงเหลือร่องรอยของกระดูกเชิงกรานอยู่ มีข้อของกระดูกสันหลังที่สั้นและมีความกว้างมากกว่าสัตว์สี่เท้าชนิดอื่น ๆ ทำให้สามารถเคลื่อนไหวลำตัวแบบลูกคลื่นได้ งูเป็นสัตว์ที่มีกระดูกซี่โครงแข็งแรงกว่าแท่งกระดูกสันหลัง ทำให้สามารถทนแรงกดดันทางด้านข้างได้มากกว่า
การเคลื่อนที่ขึ้นลงของกระดูกสันหลังของงู จะทำให้กล้ามเนื้อถูกยกขึ้นลงไปด้วย กะโหลกศีรษะมีลักษณะเฉพาะตัว หนังตาไม่เคลื่อนไหว นัยน์ตาไม่กระพริบ งูมีหนังตาบนและล่างที่ยาวเชื่อมติดกันไว้อย่างถาวร ไม่มีหูตอนนอกและแก้วหู (Tympanum) จึงไม่ได้ยินเสียงรอบข้าง แต่มีความไวต่อการสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นเช่น เสียงเดินบนพื้น นอกจากนี้งูยังมีประสิทธิภาพในด้านการมองเห็นที่ต่ำ ยกเว้นงูที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เขตร้อน ตามต้นไม้จะมีงูที่มีนัยน์ตาดีเยี่ยมอาศัยอยู่ ทำให้สามารถติดตามเหยื่อที่แฝงตัวและหลบซ่อนตามกิ่งก้านของต้นไม้ได้เป็นอย่างดี งูส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ตามพื้นดิน ใช้การรับรู้ทางด้านความรู้สึกทางเคมีเช่น ความร้อนของร่างกายช่วยในการล่าเหยื่อ
งูในตระกูล Viperidae คือกลุ่มงู Vipers ได้แก่งูแมวเซา งูกะปะ งูเขียวหางไหม้ มีลักษณะเฉพาะคือบริเวณส่วนของตาและจมูกจะมีแอ่งบุ๋มลึกลงไป สำหรับทำหน้าที่รับความรู้สึกและความร้อนจากร่างกายของเหยื่อ มีฟันที่ขากรรไกรด้านบน 1 คู่ ที่จะแปรเปลี่ยนไปเป็นเขี้ยวงู เมื่อเวลาหุบปากและขดตัวอยู่นิ่ง ๆ เขี้ยวที่อยู่ด้านบนจะวางนอนอยู่บนเยื่อหุ้ม (Membrana sheath) เมื่อโจมตีเหยื่อ ระบบกล้ามเนื้อในร่างกายจะทำงานร่วมกับกระดูกในการง้างเขี้ยวให้ตั้งฉากกับเพดานปากเมื่องูฉกกัด เมื่อเขี้ยวเจาะผ่านเข้าไปในร่างกายของเหยื่อ พิษงูจะไหลมาตามท่อในเขี้ยวตรงไปยังบาดแผล หลังจากนั้นงูจะปล่อยเหยื่อทันทีและจะเฝ้าติดตามจนกว่าเหยื่อจะสลบหรือขาดใจตาย จึงจะกลืนกินเหยื่อเข้าไปทั้งตัว
ส่วนใหญ่งูชนิดที่มีพิษและไม่มีพิษ จะอาศัยอยู่ในเขตร้อนหรือใกล้กับเขตร้อนของโลก งูไม่มีพิษจะใช้วิธีฆ่าเหยื่อด้วยการรัดหรือกัดให้ตายแล้วกลืนกิน ซึ่งอาหารส่วนใหญ่คือหนู และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมขนาดเล็ก รวมถึงสัตว์ชนิดอื่น ๆ เช่น ปลา กบและแมลง บางชนิดกินไข่ของสัตว์อื่นเป็นอาหาร งูพิษมีประมาณไม่ถึง 1 ใน 3 ของงูทั้งหมด แบ่งตามลักษณะของเขี้ยวออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
  1. เขี้ยวแบบพับเก็บได้ ลักษณะเขี้ยวแบบพับเก็บได้ จะพบได้ในวงศ์งูแมวเซา วงศ์งูกะปะและวงศ์งูเขียวหางไหม้ ลักษณะของเขี้ยวจะอยู่ที่ด้านหน้าของปาก สามารถพับเก็บเขี้ยวเข้าไปในปากได้
  2. เขี้ยวแบบพับเก็บไม่ได้ ลักษณะเขี้ยวแบบพับเก็บไม่ได้ จะพบได้ในวงศ์งูเห่า วงศ์งูปล้องหวาย วงศ์งูสามเหลี่ยมและวงศ์งูทับสมิงคลา ลักษณะของเขี้ยวจะสั้นไม่เคลื่อนไหว ยื่นตั้งฉากกับขากรรไกรอย่างถาวร เมื่อฉกกัดเหยื่อจะปล่อยพิษออกมาทางเขี้ยว
  3. เขี้ยวที่อยู่ทางตอนท้ายของขากรรไกร ลักษณะเขี้ยวที่อยู่ทางตอนท้ายของขากรรไกร จะพบได้ในวงศ์งูเขียวกาบหมาก วงศ์งูทางมะพร้าว วงศ์งูสิง วงศ์งูปล้องฉนวน วงศ์งูปี่แก้ว วงศ์งูสายทอง วงศ์งูหัวศร วงศ์งูพงอ้อและวงศ์งูสายม่าน
ลักษณะของพิษงูแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือมีพิษต่อระบบประสาทและมีพิษต่อเลือด พิษต่อระบบประสาทจะมีผลต่อเส้นประสาทตา เมื่อได้รับพิษจะทำให้ตาบอดหรือมีผลต่อเส้นประสาทของกะบังลม ทำให้ระบบหายใจล้มเหลว พิษต่อเลือด จะทำให้เม็ดเลือดแดงและเส้นเลือดแดงแตก ส่งผลให้เลือดกระจายตัวเข้าสู่เนื้อเยื่อ งูพิษขนาดใหญ่ที่มีผลต่อร่างกายทั้ง 2 ประเภทคืองูจงอางและงูทะเลที่จัดว่าเป็นงูพิษที่มีพิษร้ายแรงที่สุด
ตามธรรมชาติในระบบสืบพันธุ์ของงู เมื่อมีการผสมพันธุ์และวางไข่ก่อนฟักเป็นตัวอ่อนและเจริญเติบโตเป็นตัวโตเต็มวัย เปลือกไข่สีขาว ยาวรี มักวางไข่ตามท่อนไม้หรือตามรูบนพื้นดิน บางชนิดมักวางไข่ในพงหญ้าและเศษใบไม้แห้ง แต่มีบางชนิดที่ออกลูกเป็นตัว มีรกแบบโบราณสำหรับแลกเปลี่ยนสารระหว่างเอมบริโอกับกระแสเลือดของแม่ งูตัวเมียบางชนิดจะสามารถเก็บรักษาน้ำเชื้อของงูตัวผู้ไว้ในร่างกายและสามารถวางไข่ได้หลายครั้งหลังจากจับคู่ผสมพันธุ์

[แก้] เต่า

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ เต่า
การวิวัฒนาการเท้าให้กลายเป็นพายสำหรับว่ายน้ำ
เกล็ดบนผิวตัว แสดงแผ่นกระดูกของกระดองเต่า
เต่าจัดเป็นสัตว์เลื้อยคลานเพียงกลุ่มเดียว ที่ยังคงลักษณะเฉพาะของสัตว์เลื้อยคลานในยุคโบราณอยู่หลายอย่าง เป็นสัตว์เลื้อยคลานที่มีชีวิตตั้งแต่ในยุคไตรแอสสิคจนถึงยุคปัจจุบัน โดยมีการปรับเปลี่ยนสภาพร่างกายที่น้อยมาก มีกระดองซึ่งแปรเปลี่ยนสภาพจากกระดูกเกล็ดที่ห่อหุ้มร่างกาย เป็นแผ่นเกล็ดที่สำหรับปกป้องตัวเองจากศัตรู สามารถหดหัวและขาเข้าไปหลบซ่อนภายในกระดองได้ ซึ่งลักษณะของการหดหัวของเต่า ส่วนใหญ่เต่าจะหดหัวเข้าไปภายในกระดองในลักษณะรูปตัว S คือการหดหัวในแนวตั้ง แต่มีเต่าที่อาศัยในแถบอเมริกาใต้และออสเตรเลียกลุ่มหนึ่ง จะหดหัวเข้ากระดองในลักษณะของการหดหัวแบบขวาง ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มที่เรียกว่าเต่าหัวข้างเช่น เต่าคอยาวที่อาศัยในออสเตรเลีย
แต่สำหรับเต่าที่อาศัยในยุคไตรแอสสิค จะมีส่วนคอที่มีความแข็งทำให้ไม่สามารถหดหัวเข้าไปภายในกระดองได้ นัยน์ตามองเห็นได้ดี มีหนังตาและผนังเยื่อใส ๆ ห่อหุ้มดวงตา ไม่สามารถกระพริบตาและกลอกตาไปมาได้อย่างมนุษย์ มีหูสำหรับรับฟังเสียงสั่นสะเทือนบนพื้น หูของเต่าไม่มีช่องทะลุเป็นรู ทำให้มองดูคล้ายกับไม่มีหู ขากรรไกรไม่มีฟัน แต่จะมี Horny cutting surface ที่มีความคมอยู่แทน มีลิ้นสั้น ๆ ติดอยู่กับพื้นปาก มีนิ้วเท้าที่มีเล็บไว้สำหรับขุดและคุ้ยทรายในฤดูวางไข่ แต่บางชนิดมีการปรับเปลี่ยนสภาพร่างกายจากเท้าทั้ง 4 ให้กลายสภาพเป็นพายสำหรับว่ายน้ำเช่น เต่าทะเล เป็นต้น
มีฟีนิสหรืออวัยวะเพศที่โคลเอดา (Cloacal penis) ในการปฏิสนธิภายใน เต่าทุกชนิดจะวางไข่เพื่อฟักออกมาเป็นตัวก่อนเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัย ไข่เต่ามีลักษณะกลม ยาวและรี เปลือกนอกนิ่ม และมีสารหินปูนเป็นเยื่อคล้ายกับแผ่นหนังห่อหุ้มอยู่ เต่าเป็นสัตว์เลื้อยคลานที่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ทั้งบนบก ในแหล่งน้ำจืดและทะเล ซึ่งมีคำที่ใช้เรียกเต่าโดยเฉพาะด้วยกัน 4 คำ ซึ่งจะใช้ในคามหมายที่มีความแตกต่างกันคือ Turtles, Terrapins, Tortoise และ Soft-shelled turtles โดยมีรายละเอียดเฉพาะ ดังนี้
  1. เทอร์เทิล (Turtles) เป็นคำที่ใช้เรียกเต่าที่จัดอยู่ในประเภทสะเทินน้ำสะเทินบกด้วย เรียกว่า Amphibous turtles ซึ่งอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืด ตามบึง บ่อคลองและในทะเล
  2. เทอร์ราพิน (Terrapins) เป็นคำที่ใช้เรียกเต่าที่มีกระดองแข็ง และใช้เรียกเต่าน้ำจืด
  3. เทอร์ทอยส์ (Tortoise) เป็นคำที่ใช้เรียกเต่าที่อาศัยบนบก
  4. เทอร์เทิลเปลือกอ่อนนุ่ม (Aoft-shelled turtles เป็นคำที่ใช้เรียกตะพาบน้ำ ลักษณะลำตัวไม่มีเกล็ด จึงมีผิวหนังที่ปกคลุมกระดอง ที่มีความเหนียวคล้ายกับหนัง
เต่าน้ำจืด เป็นเต่าสะเทินน้ำสะเทินบก อาศัยตามห้วยหนองคลองบึงหรือตามแม่น้ำ ชอบขึ้นมานอนผึ่งแสงแดดตามบริเวณชายฝั่งเช่น Snapping แบ่งเป็น 2 ชนิดคือ Chelydra serpentina และ Macroclemys temminckii จัดเป็นเต่าขนาดใหญ่ที่กินสัตว์อื่นเป็นอาหาร มีนิสัยดุร้ายและแข็งแรง ขากรรไกรมีความคมแข็งแรง ใช้สำหรับงับเหยื่อ Sternotherus เป็นเต่าที่อาศัยอยู่ตามหนองและบึง ลักณะเฉพาะคือเมื่อถูกจับได้จะปล่อยกลิ่นเหม็นออกมาตามร่างกาย เพื่อป้องกันอันตรายและเอาตัวรอด ฝังตัวอยู่ตามโคลนตมตามพื้นท้องน้ำตามธรรมชาติ
ลักษณะเฉพาะของเต่าน้ำจืดคือ มีกระดองเป็นแผ่นเกล็ดปกคลุมร่างกาย มีความหนา แข็งแรง ส่วนใหญ่อาศัยตามแหล่งน้ำจืดทั่วไป มีหลายชนิดที่อาศัยบนบกมากกว่าในน้ำ ในประเทศไทยพบเต่ากระอานที่เป็นเต่าบกเพียงแห่งเดียวที่ทะเลสาบสงขลา กินหอยทากและปูเป็นอาหาร แต่ถ้าขาดแคลนก็จะกินพืชน้ำแทน เต่าบกเช่นเต่าหีบเมื่อออกจากไข่และเป็นตัวอ่อนจะอาศัยใกล้กับแหล่งน้ำจืด เมื่อเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัยจะออกห่างจากแหล่งน้ำ มีลักษณะเด่นคือบริเวณตอนกลางของกระดองด้านท้อง จะมีบานพับตามขวาง แบ่งกระดองด้านท้องออกเป็น 2 ส่วน เวลาถูกรบกวนหรือพบเห็นศัตรู จะพับกระดองด้านท้องเข้าหากัน อาศัยตามชายฝั่งทะเล ลักษณะกระดองมีความแข็งแรง มีลวดลายของกระดองสวยงามเป็นวงแหวนบนแผ่นเกล็ด
เต่าทะเล เป็นสัตว์เลื้อยคลานในยุคไตรแอสสิคอีกชนิดหนึ่ง ดำรงชีวิตอยู่ในทะเลเขตร้อนและในบริเวณใกล้เคียงกับเขตร้อน เต่าทะเลจะอาศัยในทะเลเกือบตลอดชีวิต ยกเว้นฤดูวางไข่ที่จะขึ้นบกเพื่อวางไข่ตามชายหาดเท่านั้น ขาและรยางค์มีการเปลี่ยนแปลงจากสัตว์ที่อาศัยบนบก เปลี่ยนเป็นขาที่มีลักษณะเหมือนใบพายของเรือเพื่อใช้ชีวิตในท้องทะเล เต่าทะเลที่มีขนาดใหญ่ที่สุดคือเต่ามะเฟือง ขนาดลำตัวยาวประมาณ 2 เมตร น้ำหนักตัวประมาณ 725 กิโลกรัม อิพิเดอร์มิสที่คลุมบริเวณกระดองมีลักษณะเหนียวนุ่ม ไม่มีเกล็ด มีสันตามยาวทางด้านหลัง เต่าตนุเป็นเต่าทะเลที่ถูกไล่ล่าจนใกล้จะสูญพันธุ์ในปัจจุบัน ลำตัวมีสีเขียวจากไขมันบนลำตัว ขาคู่หน้าทำหน้าที่เป็นพายสำหรับว่ายน้ำ ขาคู่หลังทำหน้าที่เป็นหางเสือในการเลี้ยวซ้ายขวา รวมทั้งใช้ในการถีบน้ำ น้ำหนักตัวประมาณ 180 กิโลกรัม จัดเป็น 1 ใน 5 ของเต่าทะเลของไทยเช่นเดียวกับเต่ามะเฟือง
เต่าบก เป็นเต่าขนาดกลางและใหญ่ตามลำดับ เต่าบกที่อาศัยในหมู่เกาะกาลาปากอส จัดเป็นเต่าบกที่มีขนาดใหญ่ที่สุด น้ำหนักตัวประมาณ 230 กิโลกรัม อายุมากกว่า 200 ปี เคลื่อนที่ช้ามากด้วยอัตราความเร็ว 300 เมตร/ชั่วโมง ในประเทศไทยพบเต่าบกได้ทุกแห่งของภูมิภาค เช่นเต่าหกที่อาศัยตามเขาสูงในป่าดงดิบ พบได้ในแถบไทรโยค เขาวังหิน นครศรีธรรมราช เต่าเขาสูบที่อาศัยอยู่ตามภูเขาสูงในประเทศไทย เต่าเหลืองที่มีกระดองสีเหลือง ชอบอาศัยตามภูเขาสูงหรือเนินเขาที่แห้งแล้งในป่าผลัดใบ
ตะพาบน้ำ เป็นสัตว์เลื้อยคลานที่มีกระดองห่อหุ้มร่างกายเช่นเดียวกับเต่า ลำตัวประกอบด้วยกระดองบนและกระดองล่าง ลักษณะกระดองอ่อนนุ่มกว่า ผิวหนังที่ปกคลุมกระดองเหนียวคล้ายหนัง ทำให้มองดูเหมือนกับไม่มีเกล็ดแผ่ปกคลุม ขาคู่หน้ามีแผ่นพังผืดกว้าง มีเล็บเพียง 2-3 นิ้ว คอและขาหดได้มิดในกระดอง อาศัยอยู่ได้เกือบทุกสภาพแวดล้อม พบได้ในทางภาคใต้ของประเทศไทย บางชนิดมีนิสัยดุร้ายและมีกำลังมาก ต่อสู้แย่งชิงเพศเมียด้วยการกัดอย่างรุนแรง ปัจจุบันตะพาบเป็นที่นิยมนำมาประกอบเป็นอาหารของมนุษย์

[แก้] จระเข้และแอลลิเกเตอร์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ จระเข้และแอลลิเกเตอร์
จระเข้ สัตว์ในอันดับ Crocodilia
แอลลิเกเตอร์ สัตว์ในอันดับ Crocodilia
จระเข้และแอลลิเกเตอร์ จัดเป็นสัตว์เลื้อยคลานที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาสัตว์เลื้อยคลานทั้งหมด 4 กลุ่ม[6] สืบสายพันธุ์ยาวนานมาตั้งแต่ยุคจูแรคสิคและครีเทเซียสจนถึงยุคปัจจุบัน[7] มีความสามารถในการปรับสภาพร่างกายในการอยู่รอดจากภาวะที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์มากว่า 160 ล้านปี คงลักษณะโบราณทางด้านกายวิภาคเกือบทั้งหมดของร่างกาย ตั้งแต่ปลายจมูกจรดปลายหาง ไม่มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างให้แตกต่างไปจากบรรพบุรุษในยุคโบราณ ปัจจุบันเหลือเพียง 21 ชนิดในโลก
จระเข้ส่วนใหญ่จะมีจมูกที่ยาวเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ แตกต่างจากแอลลิเกเตอร์ที่มีจมูกที่สั้นและป้านกว่ามาก มีขากรรไกรที่แข็งแรงรวมทั้งฟันที่แหลมคม ขนาดความยาวประมาณ 3 - 4 เมตร ลักษณะลำตัวใหญ่โตและดุร้าย ทำให้แลดูน่ากลัวและน่าเกรงขามต่อผู้พบเห็น ผิวหนังแข็งเป็นเกล็ดปกคลุมตลอดลำตัว ปากยาวและปลายปากนูนสูงขึ้นเป็นช่องเปิดของรูจมูก ออกลูกเป็นไข่ครั้งละประมาณ 20 - 28 ฟอง[8] จัดอยู่ในประเภทสัตว์กินเนื้อทุกชนิดซึ่งรวมทั้งมนุษย์ด้วย มีแหล่งอาศัยในแถบทวีปแอฟริกาและทวีปเอเชีย สำหรับในประเทศไทยมีอยู่ 3 ชนิดได้แก่จระเข้น้ำจืด ( Crocodylus siamensis), จระเข้น้ำเค็ม (C. porosus) และตะโขงหรือจระเข้ปากกระทุงเหว (Tomistoma schlegeli) ที่มีปากแหลมยาวแตกต่างจากจระเข้ทั่วไป[9]
สำหรับจระเข้น้ำกร่อย (Estuarine crocodila Crocodylus porosus) สามารถพบเห็นได้ในทางเอเชียใต้ จัดเป็นจระเข้ขนาดใหญ่มาก มักขึ้นฝั่งเพื่อล่าเหยื่อในกลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมเช่น แพะ แกะ กวาง และนกเป็นอาหาร เมื่อล่าเหยื่อได้จะงับและลากลงไปใต้น้ำ จนกระทั่งเหยื่อขาดอากาศหายใจและตายจึงฉีกกินเป็นอาหาร ในขณะที่แอลลิเกเตอร์ ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานที่มีขนาดคล้ายจระเข้ แต่มีความดุร้ายน้อยกว่า มักพยายามขึ้นฝั่งเพื่อที่จะส่งเสียงร้องซึ่งเป็นลักษณะที่มีความแตกต่างจากสัตว์เลื้อยคลานประเภทอื่น
แอลลิเกเตอร์ตัวผู้จะสามารถส่งเสียงร้องที่ดังมากในช่วงฤดูผสมพันธุ์ เพื่อเป็นการสื่อสารสัญญาณระหว่างแอลลิเกเตอร์ตัวเมีย และจะพบ Vocal sac ที่บริเวณสองข้างของลำคอซึ่งจะโป่งพองออกในขณะที่ส่งเสียงร้อง วางไข่ครั้งละประมาณ 20 - 50 ฟอง ซึ่งเป็นปริมาณที่มากกว่าจำนวนไข่ของจระเข้ เมื่อแอลลิเกเตอร์ตัวเมียพร้อมที่จะวางไข่ จะเลือกวางไข่ตามซากพืช

[แก้] ทัวทารา