วันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การเปิดพจนานุกรม

การใช้พจนานุกรม


พจนานุกรมช่วยให้เราสามารถค้นหาคำ อ่านและเขียนคำๆ ได้ถูกต้อง มีพจนานุกรมหลายฉบับ ฉบับที่ทางราชการกำหนดให้ใช้เป็นบรรทัดฐาน คือ
พจนานุกรมฉบับีาชบัณฑิตยสถาน ซึ่งเป็นพจนานุกรมใหญ่ที่สุดด้วย


วิธีเรียงลำดับคำในพจนานุกรม

เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเปิดหาคำในพจนานุกรมได้อย่างรวดเร็ว ผู้เรียนควรรู้ว่าพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานเรียงลำดับคำอย่างไร
คำในพจนานุกรมเรียงลำดับตามรูปพยัญชนะตัวแรกในคำ โดยเรียงดังนี้





ฤๅ ฦๅ


คำในพจนานุกรมไม่เรียงลำดับตามเสียงอ่าน แตรเรียงลำดับตามรูปพยางค์ ดังนั้นถ้าจะค้นคำว่า หญิง   หนัง   หมวด   หลาย จะต้องไปค้นในหมวดตัวอักษร ห ถ้าจะค้นคำว่าทราบ   ทรัพย์ ก็ไปค้นในหมวดตัวอักษร ท

คำที่อยู่ในหมวดอักษรเดียวกันจะเรียงลำดับตามรูปพยัญชนะตัวถัดไปของคำ ไม่ว่าพยัญชนะตัวถัดไปจะเป็นตัวสะกด อักษรควบกล้ำ หรืออักษรที่ตามอักษรนำ
ตัวอย่าง

กง (ง เป็นตัวสะกด) มาก่อน กฎ เพราะ ง มาก่อน ฎ
กฎ มาก่อน กรด (ร เป็นส่วนหนึ่งของอักษรควบกล้ำ) เพราะ ฎ มาก่อน ร
ขนม (ข อักษรนำ น อักษรตาม) มาก่อน ขบ เพราะ น มาก่อน บ


คำที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะและตามด้วยสระจะมาหลังคำที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ และตามด้วยพยัญชนะ
ตัวอย่าง

คำ กระ จะมาหลังคำ กร่อย คำ คะ จะมาหลังคำ คอ


การเรียงคำที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะและตามด้วยสระ จะเรียงลำดับตามรูปสระ ดังนี้
อะ อั อัะ อา อำ อิ อี อึ อื
อุ อู เอะ เอา เอาะ เอิ เอี เอีะ
เอื เอืะ แอะ โอะ


การเรียงคำที่ขึ้นต้นด้วยพจัญชนะและตามด้วยสระ รูปสระที่มี ะ จะมาก่อน และตามด้วย อั   อัะ  ต่อไปเป็นณุปสระที่มี อา คือ อำ รูปสระที่มี เอ ทุกๆรูปตั้งแต่ที่มีจำนวนรูปน้อยที่สุดจะเรียงลำดับต่อๆ มาแล้วจึงถึงรูปสระที่มี แอ และมี ไอ เป็นอันดับสุดท้าย หากเป็นพจนานุกรมหมวดอักษร ช จะเห็นว่า

ชัย มาก่อน ชา เพราะ อั มาก่อน อา
ชาว มาก่อน ชำ เพระ อา มาก่อน อำ
เชื่อ มาก่อน แช่ เพระ เอ มาก่อน แอ

ในหมวดอักษรอื่นๆ ก็เช่นเดียวกัน


คำที่ไม่มีรูปวรรณยุกต์ จะมาก่อนคำที่มีรูปวรรณยุกต์ เช่น ราย ม้ก่อน ร่าย ร้าย แม้ในคำชี้แจงการใช้พจนานุกรมซึ่งอยู่ตอนต้นเล่มได้อธิบายไว้ว่ารูปวรรณยุกต์ไม่ได้เรียงลำดับไว้ แต่ถ้าสังเกตจะเป็นว่ามีการเรียงตามลำดับรูป เอเ โท ตรี จัตวา ด้วย
พจนานุกรมฉบับนี้แบ่งหน้าหนังสือออกเป็น ๒ ซีกคือ ซีกซ้ายและซีกขวา ศัพท์ตัวแรกในซีกซ้ายจะปรากฏเหนือข้อความทั้งหมดในชีกซ้าย ส่วนทางซีกขวามือศัพท์ตัวสุดท้ายของซีกนั้นจะปรากฏอยู่คำที่ปรากฏเหนือข้อความทั้งซีกซ้ายและซีกขวานี้ ที่เรียกว่า คำชี้ทาง ถ้าเราจะค้นคำที่ต้องการในพจนานุกรมเราควรดูคำที่ปรากฏเหนือซีกซ้ายและซีกขวาที่กล่าวมานี้ เพื่อช่วยให้ค้นได้อย่างรวดเร้วว่าคำที่ต้องการอยู่ในหน้านั้นหรือไม่
การเรียงคำที่เป็นนามย่อย ได้จัดเรียงนามย่อยไว้ตามหมวดตัวอักษร เช่น กระจอก เป็นนามย่อยของนก แต่ไม่ได้จัดไว้ใต้คำนก จัดไว้ในพวกกระ  ช่อน เป็นนามย่อยของ ปลา แต่เรียงไว้ในหมวดอักษร ช เป็นต้น
คำบางคำที่เป็นอนุพจน์หรือลูกคำของตั้ง ก็ จัดไว้ใต้คำตั้งทั้งสิ่น เช่น ชายเป็นคำตั้งมีอนุพจน์ คือ ชายกระเบน   ชายคา   ชายแครง   ชายธง เป็นต้น

ประโยชน์ของพจนานุกรม

พจนานุกรมเป็นแบบฉบับการเขียวสะกดการันต์ถ้อยคำในภาษา ดังนั้นเมือเกิดความสงสัยว่าคำนั้นควรเขียนอย่างไร เช่น เมื่อเห็นคำสะกดว่า กาสันต์ แล้วหาในพจนานุกรม ปรากฏว่าไม่มีคำนี้ มีแต่คำ กระสัน แสดงว่า คำแรกเขียนผิด ต้องเขน กระสัน จึงจะถูก
ถ้าต้องการทราบว่า คำใดออกเสียงอย่างไร พจนานุกรมจะให้ไว้ในเครื่องหมายวงเล็บ ( ) เช่น
นาฏ, นาฏ- (นาด, นาตะ-, นาดตะ-)
คฤนถ์ (คฺรึน)
สิเนรุ (-เน-รุ)

ถ้าต้องการรู้ความหมายของศัพท์อนจหาได้จากพจนานุกรม เช่น หากต้องการทราบความหมายของคำ เปลื่อง จากพนจานุกรมให้ความหมายว่า เอาออก (ใช้แก่เครื่องแต่งตัวที่นุ่งหรือคลุนอยู่) ทำให้หลุดพัน เพื่อแบ่งเบาหรือหมดไป เบ่น เปลื่องทุกข์   เปลื่องหนี้   ปลดเปลื่อง ก็ว่า คำที่มีความหมายหลายความหมายก็จะแสดงไว้ดังนี้ เช่น
เปรียง ๑ นมส้มผสมน้ำแล้วเจียวให้แตกมัน จัด้ป็นโครสอย่างหนึ่งใจำนวน ๕ อย่าง
เปรียง ๒ น้ำมัน โดยเฉพาะใช้สำหรับน้ำมันไขข้อของวัว
เปรียง ๓ เถาวัลย์เปรียง

หากต้องการทราบว่า คำบางคำมีประวัคิมาอบ่างไร หรือเป็นคำที่เติมมาจากภาษาใด อาจดูได้จากที่บอกไว้ในวงเล็บ (----) เช่น
ประติทิน ( ส. ปฺรติ + ทิน; ป. ปฏิ + ทิน)
ส. หมายความว่า คำๆ นี้มาจากภาษาสันสฤต และรูปเดิมเป็น ปฺรติ+ ทิน
ป. หฟมายความว่า คำๆ นี้มาจากภาษาบาลี และรูปเดิมเป็น ปฏิ + ทิน
สำหรับความหมายของตัวย่อแต่ละตัว อาจพลิกดูได้ที่คำชี้แจงตอนต้นเล่มในพจนานุกรม

ชนิดของคำ คือ อักษรขนาดเล็ก บอกไว้ถัดจากศัพท์ เช่น

จิ้มก้อง ก. ก. คือ คำกริยา
จิ้มลิ้น ว. ว.คือ คำวิศษณ์
สำหรับความหมายของตัวย่อแต่ละตัว อาจพลิกดูได้ที่คำชี้แจงตอนต้นเล่มในพจนานุกรม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น