วันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

จังหวะทำนองเพลง

จังหวะ (Rhythm)
         
           จังหวะ (Rhythm) เป็นพื้นฐานในชีวิตของมนุษย์ เราจะพบกับจังหวะได้ในทุก ๆ วัฎจักร นับตั้งแต่การเกิดกลางคืน - กลางวัน, การมีฤดูกาลทั้ง 4 ฤดู, การขึ้น – ลงของน้ำ, การหายใจ, การเต้นของหัวใจ, การเดิน หรือแม้กระทั่งการดำเนินชีวิตของคนบางครั้งเราจะพบว่าบางช่วงชีวิตดำเนินไปด้วยความราบรื่นอยู่ ๆ จังหวะดีก็อาจถูกล็อตเตอรี่รางวัลที่ 1 เป็นเศรษฐีภายในช่วงข้ามวัน แต่บางครั้งก็มีสะดุดไปบ้างจากคนที่มีเงินทองมากมายก็อาจจนลงได้ภายในไม่ข้ามคืนก็เป็นไปได้ ทั้งหมดที่กล่าวมาก็ล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องกับจังหวะ ทั้งสิ้น
ในทางดนตรีแล้วจังหวะหมายถึง การเคลื่อนที่ของแนวทำนองหรือเสียงในช่วงเวลาหนึ่ง โดยปกติจังหวะประกอบด้วย


- จังหวะหนัก (Strong beat) หมายถึงจังหวะที่หนักกว่าจังหวะอื่น ๆ ภายในห้องเพลงเดียวกันมีหลายกลุ่ม เช่น
กลุ่ม 2 จังหวะ (Duple Meter) คือ จังหวะหนักอยู่ที่จังหวะที่ 1 จังหวะที่ 2 เป็นจังหวะเบา

กลุ่ม 3 จังหวะ (Triple Meter) คือจังหวะหนักอยู่ที่จังหวะที่ 1 จังหวะที่ 2,3 เป็นจังหวะเบา
กลุ่ม 4 จังหวะ (Quadruple Meter) คือจังหวะหนักอยู่ที่จังหวะที่ 1 และ3 จังหวะที่ 2และ 4 เป็นจังหวะเบา

จังหวะทำนอง (Duration) หมายถึงความสั้นยาวของเสียงทุกเสียงในทำนองเพลง

1 เครื่องหมายกำหนดจังหวะ (Time Signature)
          ดนตรีเป็นโสตศิลป์ที่เกี่ยวข้องกับเสียงและเวลาเวลาในทางดนตรีถูกกำหนดโดยใช้เครื่องหมายกำหนดจังหวะเป็นตัวเลขคล้ายกับเลขเศษส่วน แต่ไม่มีเส้นตรงขีดระหว่างตัวเลขบนและล่าง

ตัวเลขตัวบน ใช้บอกจำนวนตัวโน้ต หรือจังหวะภายในแต่ละห้อง เช่น
เลข 2 หมายถึง มีตัวโน้ตได้ 2 ตัว
เลข 3 หมายถึง มีตัวโน้ตได้ 3 ตัว
เลข 4 หมายถึง มีตัวโน้ตได้ 4 ตัว
เลข 6 หมายถึง มีตัวโน้ตได้ 6 ตัว
ตัวเลขตัวล่าง ใช้บอกลักษณะตัวโน้ตที่ใช้เป็นเกณฑ์
เลข 2 ใช้แทนโน้ต ตัวขาว
เลข 4 ใช้แทนโน้ต ตัวดำ
เลข 8 ใช้แทนโน้ต ตัวเขบ็ต 1 ชั้น

เลข 16 ใช้แทนโน้ต ตัวเขบ็ต 2 ชั้น
          โดยทั่วไปในทางดนตรีสามารถจำแนกอัตราจังหวะได้ 2 ประเภทคือ อัตราจังหวะธรรมดา (Simple Time Signatures) และอัตราจังหวะผสม (Compound Time Signatures)


          จากตัวอย่างข้างต้น อ่านว่า เครื่องหมายกำหนดจังหวะ สี่ – สี่ หมายความว่าภายในหนึ่งห้องเพลงที่กำหนดด้วยเครื่องหมายกำหนดจังหวะนี้ประกอบด้วยตัวโน้ตตัวดำ (เลข 4 ตัวล่าง) ได้จำนวน 4 ตัว (เลข 4 ตัวบน) ในการปฏิบัติให้ถือว่า 1 ห้อง มี 4 จังหวะ ในอีกความหมายหนึ่งก็คือ ภายหนึ่งห้องจะประกอบด้วยตัวโน้ตหรือตัวหยุดชนิดใดก็ได้แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 4 จังหวะ
          จากตัวอย่างข้างต้น อ่านว่า เครื่องหมายกำหนดจังหวะ สาม – สี่ หมายความว่าภายในหนึ่งห้องเพลงที่กำหนดด้วยเครื่องหมายกำหนดจังหวะนี้ประกอบด้วยตัวโน้ตตัวดำ (เลข 4 ตัวล่าง) ได้จำนวน 3 ตัว (เลข 3 ตัวบน) ในการปฏิบัติให้ถือว่า 1 ห้อง มี 3 จังหวะ ในอีกความหมายหนึ่งก็คือ ภายหนึ่งห้องจะประกอบด้วยตัวโน้ตหรือตัวหยุดชนิดใดก็ได้แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 3 จังหวะ

          จากตัวอย่างข้างต้น อ่านว่า เครื่องหมายกำหนดจังหวะ สาม – แปด หมายความว่าภายในหนึ่งห้องเพลงที่กำหนดด้วยเครื่องหมายกำหนดจังหวะนี้ประกอบด้วยตัวโน้ตตัวเขบ็ต 1 ชั้น (เลข 8 ตัวล่าง) ได้จำนวน 3 ตัว (เลข 3 ตัวบน) ในการปฏิบัติให้ถือว่า 1 ห้อง มี 3 จังหวะ ในอีกความหมายหนึ่งก็คือ ภายหนึ่งห้องจะประกอบด้วยตัวโน้ตหรือตัวหยุดชนิดใดก็ได้แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 3 จังหวะ


          จากตัวอย่างข้างต้น อ่านว่า เครื่องหมายกำหนดจังหวะ หก – สี่ หมายความว่าภายในหนึ่งห้องเพลงที่กำหนดด้วยเครื่องหมายกำหนดจังหวะนี้ประกอบด้วยตัวโน้ตตัวดำ (เลข 4 ตัวล่าง) ได้จำนวน 6 ตัว (เลข 6 ตัวบน) ในการปฏิบัติให้ถือว่า 1 ห้อง มี 2 จังหวะ เนื่องจากเป็นอัตราจังหวะผสม โน้ตตัวดำ 3 ตัวให้นับ 1 จังหวะ หรือ 1 เคาะในอีกความหมายหนึ่งก็คือ ภายหนึ่งห้องจะประกอบด้วยตัวโน้ตหรือตัวหยุดชนิดใดก็ได้แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 6 จังหวะ (อัตราตัวโน้ตปกติ)
          จากตัวอย่างข้างต้น อ่านว่า “เครื่องหมายกำหนดจังหวะ หก – แปด” หมายความว่าภายในหนึ่งห้องเพลงที่กำหนดด้วยเครื่องหมายกำหนดจังหวะนี้ประกอบด้วยตัวโน้ตตัวเขบ็ต 1 ชั้น (เลข 8 ตัวล่าง) ได้จำนวน 6 ตัว (เลข 6 ตัวบน) ในการปฏิบัติให้ถือว่า 1 ห้อง มี 2 จังหวะ เนื่องจากเป็นอัตราจังหวะผสม โน้ตเขบ็ต 1 ชั้น 3 ตัวให้นับ 1 จังหวะ หรือ 1 เคาะในอีกความหมายหนึ่งก็คือ ภายหนึ่งห้องจะประกอบด้วยตัวโน้ตหรือตัวหยุดชนิดใดก็ได้แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 3 จังหวะ (อัตราตัวโน้ตปกติ)
          จากตัวอย่างข้างต้น อ่านว่า “เครื่องหมายกำหนดจังหวะ เก้า – แปด” หมายความว่าภายในหนึ่งห้องเพลงที่กำหนดด้วยเครื่องหมายกำหนดจังหวะนี้ประกอบด้วยตัวโน้ตตัวเขบ็ต 1 ชั้น (เลข 8 ตัวล่าง) ได้จำนวน 9 ตัว (เลข 9 ตัวบน) ในการปฏิบัติให้ถือว่า 1 ห้อง มี 3 จังหวะ เนื่องจากเป็นอัตราจังหวะผสม โน้ตตัวเขบ็ต 1 ชั้น 3 ตัวให้นับ 1 จังหวะ หรือ 1 เคาะในอีกความหมายหนึ่งก็คือ ภายหนึ่งห้องจะประกอบด้วยตัวโน้ตหรือตัวหยุดชนิดใดก็ได้แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน4? จังหวะ (อัตราตัวโน้ตปกติ)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น