วันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ประวัติยุวกาชาติไทย

ภาพ:Education_1.jpg

         27 มกราคม ของทุกปี ตรงกับวันคล้ายวันยุวกาชาดไทย โดย “ยุวกาชาด” เป็นกิจกรรมที่มุ่งฝึกอบรม ให้ความรู้เพื่อพัฒนาและป้องกันตนเองแก่เยาวชนในระดับอายุ 7-25 ปี ทั้งในสถานศึกษาและนอกสถานศึกษา ตั้งแต่ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา อุดมศึกษาตลอดจนเยาวชนกลุ่มพิเศษ จากศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน ศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา เรือนจำและทัณฑสถาน ปัจจุบันมีสมาชิกยุวกาชาดทั่วประเทศ มากกว่า 1 ล้านคน

สารบัญ

 [ซ่อนสารบัญ]

[แก้ไข] ยุวกาชาด คือ

ภาพ:Education_8.jpg

         ยุวกาชาด คือ เยาวชนชาย-หญิง อายุระหว่าง 8 - 25 ปี ที่มีจิตใจเสียสละ อุทิศตนบำเพ็ญประโยชน์เพื่อส่วนรวม และสืบทอดอุดมการณ์ของกาชาดตามหลักการกาชาด 7 ประการ บทบาทหน้าที่ของยุวกาชาดทุกคน จึงต้องฝึกตนเองทั้งทางร่างกายและจิตใจ เพื่อการเตรียมพร้อมช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ในทุกโอกาสที่จะทำได้ เพื่อนมนุษย์ในที่นี้อาจเริ่มจากบุคคลใกล้ชิด เช่น ครอบครัว ญาติพี่น้อง เพื่อนมนุษย์ในชุมชน หมู่บ้าน โรงเรียน หาโอกาสในการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชน และให้ความร่วมมือช่วยเหลืออย่างบริสุทธิ์ใจ โดยไม่หวังสิ่งตอบแทนใด ๆ

[แก้ไข] ประวัติความเป็นมาของยุวกาชาดไทย

ภาพ:Education_3.jpg
         ยุวกาชาดไทยได้รับการสถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2465 ในชื่อ “กองอนุสภากาชาดสยาม” พระดำริของ]]จอมพลสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต]] อุปนายกผู้อำนวยการสภากาชาดสยามในขณะนั้นเป็นผู้ก่อตั้ง ได้ทรงมีพระดำริว่า "สภากาชาดของบางประเทศได้ตั้งสภากาชาดแผนกเด็กขึ้น ที่เรียกตามภาษาอังกฤษว่า Junior Red Cross รับเด็กชาย-หญิงอายุไม่เกิน 18 ปี เป็นสมาชิก โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะปลูกฝังเพาะนิสัยเด็กให้มีใจเมตตากรุณาต่อมนุษยชาติ ให้เป็นพลเมืองดี มุ่งทำประโยชน์แก่ชนหมู่มากนั้น มีผลดีจนประเทศอื่น ๆ ได้จัดตั้งขึ้นบ้างในหลายประเทศ สมควรที่สภากาชาดสยามจะได้จัดตั้งขึ้นบ้าง………"
         ด้วยเหตุนี้กิจการยุวกาชาดไทยจึงได้ถือกำเนิดขึ้น ด้วยวัตถุประสงค์เช่นเดียวกับยุวกาชาดทุกประเทศทั่วโลก คือ “Education for Peace, Good Health, Good Service and International Friendship” จากชื่อ “อนุสภากาชาดสยาม” ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น อนุกาชาด จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2521จึงได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น “ยุวกาชาด” โดยขยายเกณฑ์รับสมาชิกจาก 8 - 18 ปี เป็น 8 - 25 ปี โดยครอบคลุมถึงเยาวชนระดับอุดมศึกษา และเยาวชนนอก โรงเรียน และโดยที่งานยุวกาชาดเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับเยาวชน งานยุวกาชาดจึงขึ้นอยู่กับกรมพลศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และดำเนินงานภายใต้การสนับสนุนของสภากาชาดไทย จนถึงปัจจุบัน

[แก้ไข] หลักการกาชาดสากล

ภาพ:Education_7.jpg

         การบริการอาสาสมัคร (Voluntary Service) เป็นหลักการที่สำคัญข้อหนึ่งในหลักการ 7 ข้อของหลักการกาชาดสากลที่ดำเนินการอยู่ทั่วโลก โดยมุ่งเน้นให้อาสาสมัครร่วมใจกันในการให้ความช่วยเหลือบรรเทาทุกข์แก่เพื่อนมนุษย์ทั้งหลาย โดยเฉพาะผู้ด้อยโอกาสกลุ่มต่าง ๆ ในสังคม โดยไม่หวังสิ่งตอบแทนแต่ อย่างใด โดยหลักการทั้ง 7 ข้อมีดังนี้
         มนุษยธรรม กาชาดเกิดขึ้นมาจากความปราถนาที่จะนำความช่วยเหลือโดยมิเลือกปฏิบัติมาสู่ผู้บาดเจ็บในสนามรบ กาชาดเพียรพยายามทั้งในฐานะระหว่างประเทศและในระดับชาติเพื่อป้องกัน และบรรเทาทความทุกข์ทรมานของมนุษย์ไม่ว่าจะพบได้ในที่ใด ความมุ่งประสงค์ของกาชาดได้แก่การคุ้มครองชีวิตและสุขภาพ และการประกันความเคารพนับถือต่อมนุษยชน กาชาดส่งเสริมความเข้าใจ มิตรภาพ ความร่วมมือระหว่างกัน และสันติภาพยั่งยืนระหว่างประชากรทั้งมวล
         ความไม่ลำเอียง กาชาดไม่เลือกปฏิบัติในเรื่องสัญชาติ เชื้อชาติ ความเชื่อถือทางศาสนา ชั้น วรรณะ หรือความคิดเห็นทางการเมือง กาชาดเพียรพยายามอย่างเดียวที่จะบรรเทาความทุกข์ทรมาน โดยให้การปฏิบัติเป็นลำดับแรกต่อกรณีความทุกข์ยากที่เร่งด่วนที่สุด
         ความเป็นกลาง เพื่อที่จะได้รับความไว้วางใจสืบต่อไปจากทุกฝ่าย กาชาดไม่อาจเข้ากับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดในการสู้รบ หรือเกี่ยวข้องไม่ว่าในเวลาในการขัดแย้ง ซึ่งมีลักษณะทางการเมือง เชื้อชาติ ศาสนา และลัทธินิยม
         ความเป็นอิสระ กาชาดเป็นอิสระ สภากาชาดแม้จะมีส่วนช่วยเหลือในบริการด้านมนุษยธรรมของรัฐบาลของตน และอยู่ในบังคับแห่งกฏหมายของประเทศตน จะต้องธำรงความเป็นอิสระอยู่ต่อไป เพื่อที่จะสามารถปฏิบัติตามหลักการกาชาดได้ทุกเวลา
         บริการอาสาสมัคร กาชาดเป็นองค์การอาสาสมัครในการบรรเทาทุกข์ โดยไม่มีความปรารถนาผลประโยชน์ในประการใด ๆ
         ความเป็นเอกภาพ ในประเทศพึงมีสภากาชาดได้เพียงแห่งเดียว สภากาชาดต้องเปิดให้กับคนทั่วไป สภากาชาดต้องปฏิบัติงานด้านมนุษยธรรมตลอดทั่วดินแดนของตน
         ความเป็นสากล กาชาดเป็นสถาบันสากล ซึ่งสภากาชาดทั้งมวลสังกัดอยู่ในฐานะเท่าเทียมกัน และมีส่วนความรับผิดชอบและหน้าที่เท่าเทียมกันในการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น