วันเสาร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2554

เครื่องมือช่างพื้นฐาน

เครื่องมือช่างพื้นฐาน
                เครื่องมือที่ใช้ในงานช่างมีอยู่มากมายหลายชนิด  แต่ละชนิดมีลักษณะการใช้งาน                  ที่แตกต่างกันตามลักษณะงานของแต่ละประเภท  เช่น  งานไม้  งานโลหะ  งานไฟฟ้า  งานปูน           และงานประปา  เป็นต้น  เครื่องมือบางชนิดอาจใช้ประโยชน์ได้หลายงาน  เช่น  ค้อน  เป็นเครื่องมือที่ใช้ได้ทั้งงานไม้และงานปูน  เครื่องมือที่ใช้ในงานช่างพื้นฐานสามารถแบ่งออกได้  4  ประเภท  ดังนี้
                เครื่องมือประเภทวัด
บรรทัดเหล็ก

                                ลักษณะการใช้งาน  ใช้วัดระยะ
                            การดูแลรักษา  ระวังอย่าให้ตกหล่น  เช็ดให้สะอาดหลังใช้งาน

ฉากเหล็ก

                                ลักษณะการใช้งาน  ใช้สำหรับวัดระยะทางและมุม
                 การดูแลรักษา  ระวังอย่าให้ตกหล่น  เช็ดให้สะอาดหลังใช้งาน

ตลับเมตร


                                ลักษณะการใช้งาน  ใช้วัดระยะ
                                การดูแลรักษา  ระวังอย่าให้ตกหล่น  เช็ดให้สะอาดหลังใช้งาน

                                เครื่องมือประเภทตัด
                  เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับตัดไม้หรือโลหะหรือวัสดุอื่น ๆ  เครื่องมือตัดที่ใช้ในงานช่างมีหลายชนิดแล้วแต่การใช้งาน  มีตัดต่อไปนี้
                  เลื่อย  เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับตัด  ทำด้วยโลหะเป็นแผ่นบาง ๆ มีฟันเป็นซี่  ซึ่งเลื่อยที่นิยมใช้กันทั่วไป  คือ
   เลื่อยลันดา

                เลื่อยลันดา  แบ่งเป็น  2  ประเภท  คือ  เลื่อยตัดและเลื่อยโกรก  เลื่อยใช้ตัดไม้ตามขวางของเสี้ยนไม้  มีฟันถี่จำนวนฟัน  8-12  ซี่ต่อความยาว  1  นิ้ว  เลื่อยโกรกจะมีฟันห่างจำนวน  5-8  ซี่ต่อความยาว  1  นิ้ว  ใช้สำหรับผ่าไม้ตามความยาวของเสี้ยนไม้    
   
เลื่อยหางหนู

                        เลื่อยหางหนูลักษณะใบเลื่อยเรียวยาวไปตลอดแนว   ใช้ในงานฉลุ  แต่งวัตถุรูปทรงกลม  หรือส่วนโค้ง  ที่มีความยาวไม่มากนัก

         เลื่อยตัดเหล็ก  (เลื่อยมือ)

                        เลื่อยตัดเหล็กหรือเลื่อยมือ  เป็นเครื่องมือที่ใช้ในงานโลหะเป็นส่วนใหญ่  ส่วนประกอบคือตัวเลื่อย  และใบเลื่อย  ตัวเลื่อยเป็นโครงเหล็กมีด้ามหรือมือจับ  ส่วนใบเลื่อยทำด้วยเหล็กกล้า  มีความเหนียวมาก  ฟันเลื่อยมีทั้งชนิดละเอียดและหยาบ
                        การใช้และการเก็บบำรุงรักษาเลื่อย 
                            1.  ใช้ตะไบตกแต่งฟันเลื่อยให้คมอยู่เสมอ  หลังจากทำความสะอาดซี่เลื่อย ออกหมดเรียบร้อยแล้ว
                            2.  ถอดใบเลื่อยมือออกจากตัวเลื่อยเมื่อใช้งานเสร็จแล้ว
                            3.  ทาด้วยน้ำมันเครื่อง  เพื่อรักษาใบเลื่อยไม่ให้เป็นสนิม
                            4.  เก็บใส่กล่องเพื่อป้องกันความชื้น  และเพื่อป้องกันการเกิดสนิม
                เครื่องมือประเภทตอก
                เครื่องมือประเภทตอก  ได้แก่  ค้อน  นับว่าเป็นสิ่งจำเป็นที่ควรมีไว้ประจำบ้าน  เพราะเป็นเครื่องมือที่ใช้ได้สะดวก  เป็นพื้นฐานของงานช่างประจำบ้าน  ค้อนมีหลายชนิด  ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของการใช้งานดังนี้
ค้อนหงอน

                        ค้อนหงอน  เป็นค้อนที่นิยมใช้ตามบ้านทั่วไป  มีส่วนประกอบ  2  ส่วน  คือ  ส่วนหัวค้อนและด้ามค้อน  ส่วนมากใช้กับงานช่างไม้  ในการจับยึดแน่นด้วยตะปู  จึงมีทั้งการตอกและถอนตะปูอยู่เสมอ  ค้อนหงอนจึงทำหน้าที่ทั้งตอกและถอนตะปู  การจับค้อนที่ถูกวิธีควรจับตรงปลายของด้ามค้อน  และเหวี่ยงน้ำหนักให้พอเหมาะ  ตะปูจะได้ไม่คดงอ
ค้อนหัวกลม

                        ค้อนหัวกลม  เป็นค้อนที่ใช้กับงานโลหะ  ใช้ในงานตอก  หรือทุบโลหะ  พับโลหะ  หรือเคาะโลหะให้เป็นรูปทรงต่าง ๆ ตามต้องการ
ค้อนหัวเหลี่ยม
img156.gif

ค้อนหัวเหลี่ยมหรือค้อนเล็ก   มีรูปร่างเล็ก  น้ำหนักเบา  ใช้ในงานตอกเข็มขัดรัดสายไฟ  และงานไฟฟ้าทั่วไป  ซึ่งเรียกกันติดปากว่า  ค้อนตอกสายไฟหรือค้อนเดินสายไฟ  รูปร่างลักษณะของหัวค้อนด้านหน้าตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส  ด้านหลังจะเรียวแบนโค้งเล็กน้อยตามความเหมาะสม  เพื่อสะดวกในการใช้งานบริเวณที่เข้ามุมหรือพื้นที่แคบ ๆ
                        การใช้และการเก็บบำรุงรักษาค้อน  แบ่งออกได้ดังนี้
                            1.  ก่อนการใช้งาน  ก่อนใช้ควรตรวจความเรียบร้อยของตัวด้ามและหัวค้อนให้แน่นและแข็งแรง
                            2.  ถอนตะปูด้วยความระมัดระวัง  ถ้าตะปูตัวโตหรือแน่นมาก  การถอนควรใช้ไม้รองหัวค้อนเพื่อผ่อนแรง  แล้วค่อย ๆ งัดโดยออกแรงเพิ่มทีละน้อย  ถ้างัดแรง ๆ ด้ามค้อนอาจจะหักชำรุดได้
                            3.  หลังจากการใช้งาน  เมื่อเลิกใช้งานควรทำความสะอาด  และเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น